ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุดรธานี
คำขวัญ จ.อุดรธานี
น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ
อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้า หมี่ - ขิต
แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
ผู้ว่าราชการจังหวัด
นายจารึก ปริญญาพล
ความหมายของตราประจำจังหวัด :ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ.2483
ธงประจำจังหวัดอุดรธานี : เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี คือ ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8 - 15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือน มกราคม - มีนาคม
พันธู์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด คือ ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15 - 20 เมตร ใบรูปไขา ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน
ประวัติเมือง
จังหวัดอุดรธานีมีตราประจำจังหวัดเป็นรูป ท้าวเวสสุวัณ (ท้าวกุเวร) ซึ่งเป็นท้าวสาวจาตุมหาราช หรือหัวหน้าเทพยดาผู้ปกปักรักษาโลกด้านทิศอุดร หรือทิศเหนือ และมี ต้นทองกาว" หรือเรียกตาม ภาษาถิ่นว่า "ต้นจาน" เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ในด้านข้อมูลประวัติการก่อตั้งเมือง มีปรากฎขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ครั้งหนึ่งของสยามเลยทีเดียวในครั้งนั้นต้องเผชิญกับภัยคุกคามการล่าอาณานิคม ของสองประเทศมหาอำนาจ คือฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งมีนโยบายล่าดินแดนแถบเอเชีย เป็นอาณานิคม ฝรั่งเศสนั้นผนวกเอาดินแดนประเทศเวียดนามและเขมร เป็นของตนส่วนอังกฤษ ก็ยึดเอาประเทศด้วยพระปรีชาญาณ รวมทั้งได้ทรงวางระเบียบแบบแผน ในการปกครองหัวเมืองชายแดนเพื่อเผชิญกับปัญหาน ี้จึงทรงแต่งตั้งบุคคลที่มี ความรู้ควาสามารถที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปปฏิบัติราชการประจำต่างหัวเมือง และหัวเมืองหน้าดานซึ่งถูกล่วงล้ำอธิปไตยได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน
ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ (ซึ่งต่อมาภายหลัง ทรงสถาปนา พระยศเลื่อนเป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) พร้อมด้วยข้าราชการทหารตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวพวน รับผิดชอบเมืองใหญ่ ๑๓ เมือง เมืองขึ้น ๓๖ เมือง ซึ่งประกอบด้วย บางเมือง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงด้วย ในขณะนั้น ฝรั่งเศสต้องการจะแบ่งดินแดนที่เคยเป็นของเวียดนาม ก็ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ทั้งได้ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมอ่าวไทย บีบบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญายอมรับสิทธิของฝรั่งเศสเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและให้ถอยกองกำลังทหารห่างจากชายแดนในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร ภายในระยะเวลา ๑ เดือน
ด้วยเหตุนี้เอง พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวน จึงต้องย้ายที่บัญชาการมณฑลลาวพวนที่ตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย พระองค์ได้ทรงเคลื่อนกองกำลังทหารและข้าราชบริพารลงมาทางใต้จนถึง"บ้านเดื่อหมากแข้ง" ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๖ ที่นี่มีชัยภูมิเหมาะสมอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างแปงเมือง ณ ที่นี้ และได้ทำหนังสือกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบ ซึ่งพระองค์ ทรงเห็นชอบที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนแห่งใหม่นี้
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงวางแผนสร้างบ้านแปลงเมือง อย่างจริงจัง ทรงวางผังเมืองและบัญชาการการก่อสร้างเมืองด้วยพระองค์เองได้ทรงสร้างศาลาว่าการเมือง ค่ายทหารและสถานที่ราชการต่างส่วนวังที่ประทับได้ทรงสร้างใกล้กับต้นโพธิ์ใหญ่และทรงสร้างวัดขึ้นตรงข้าม กับบริเวณวังที่ประทับ ซึ่งมีโบราณสถานเก่าแก่อยู่เดิมแล้ว เพื่อเป็นพระอารามหลวงคู่บ้านคู่เมือง ทรงประทาน นามวัดแห่งนี้ว่า "วัดมัชฌิมาวาส" เพื่อเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง นับแต่นั้น บ้านหมากแข้ง จึงมีฐานะเป็นกองบัฐชาการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้
เมื่อพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ได้ทรงจัดราชการบ้านเมือง มณฑลลาวพวน และวางระเบียบการปกครองหัวเมืองชายแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ พร้อมกับ ทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม" โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวนองค์ต่อมา (พ.ศ.๒๔๔๒ - พ.ศ.๒๔๔๙)
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มีเมืองต่าง ๆ ในปกครอง รวม ๑๒ เมือง ปี พ.ศ.๒๔๔๓ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร แบ่งการปกครองเป็น ๕ บริเวณ คือ บริเวณหมากแข้ง บริเวณพาชี บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร และบริเวณน้ำเหือง ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมือง กมุทธาไสย เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาร อำเภอบ้านหมากแข้ง ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" และเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลอุดรอีกด้วย
วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร พร้อมกับกรมการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจัดพิธีตั้งเมืองขึ้น ณ สนามกลางเมือง มีการอ่านประกาศตั้งเมืองที่ปะรำพิธีและงานเฉลิมฉลอง รวม ๓ วัน ปี พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมมณฑลอุดร
มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด เป็นภาค เรียกว่า ภาคอีสาน ตั้งที่บัญชาการที่เมืองอุดรธานี และโปรดให้ยุบเลิก ในปี พ.ศ.๒๔๖๘
ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย ในครั้งนี้ ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ มณฑลอุดรจึงถูกยกเลิกคงฐานะ
เป็นจังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งปัจจุบันนี้ อนึ่ง ในวันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปี จังหวัดอุดรธานีได้กำหนดจัดงานวันที่ระลึก คล้ายวันจัดตั้งเมืองอุดรธานี" โดยถือเป็นวันร่วมกันบำเพ็ญกุศลและเฉลิมพระเกียรติพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงสร้างเมืองอุดมธานี อีกด้วย
อุดรธานี ตั้งอยู่บนที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เป็นดินแดน ที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของโลก จ.อุดรธานีตั้งอยู่บนเส้นรุ้งที่ 17 อาศาเหนือ เส้นแวงที่ 103 องศาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยห่างจาก กทม. ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ระยะทางประมาณ 562 ก.ม.
อุดรธานี ห่างจากกรุงเทพฯ ๕๖๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๑๑,๗๓๐.๓ ตารางกิโลเมตร
จ.อุดรธานี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,780.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.362 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ มากเป็นอันดับ 4 ใน 19 จังหวัด ของภาคอิสาน รองจาก จ.นครราชสีมา,อุบลราชธานีและชัยภูมิ จ.อุดรธานี แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๑๘ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง อำเภอบ้านผือ อำเภอเพ็ญ อำเภอศรีธาตุ อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอกุดจับ อำเภอโนนสะอาด อำเภอวังสามหมอ อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอสร้างคอม อำเภอทุ่งฝน กิ่งอำเภอนายูง และกิ่งอำเภอพิบูลย์รักษ์
สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ของ จ.อุดรธานี ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 ฟิต พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขง ทาง จ.หนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็กๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย พื้นที่ทางทิศตะวันตก มีภูเขาและป่าติดต่อกัน เป็นแนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาว ตั้งแต่เขตเหนือสุดไปจน จรดทางใต้สุดเขต จ.อุดรธานี มีลักษณะแบ่ง จ.อุดรธานี ออกเป็นสองส่วน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 200-700 เมตร
สภาพภูมิอากาศ ภูมิอากาศของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาล้อมรอบทาง ด้านตะวันออกและด้านใต้ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็น อยู่ทางตะวันตก เทือกเขาสันกำแพงและ พนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่ เกิดจากพายุดีเปรสชั่น ที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในระหว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝน จ.อุดรธานี ประมาณปีละ 1,400-1,600 มิลลิเมตร สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง โดยจะร้อนจัดในฤดูร้อนและ อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งในฤดูร้อนเคยมีอุณหภมิ สูงสุดถึง 43.9 องศาเซลเซียส และในช่วนฤดูหนาวเคยมี อุณหภูมิต่ำสุดถึง 2.5 อาศาเซลเซียส ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีอุณหภูมิสูงสุด 39.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม 2539 อุณหภูมิต่ำสุด 7.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม 2539 ปริมาณน้ำฝนรวมวัดได้ 1,844.8 มิลลิเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จดจังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ จดจังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก จดจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก จดจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลย
แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขต
การปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 155 ตำบล 1,666 หมู่บ้าน 1 เทศบาล 150 องค์การบริหารส่วนตำบล และ 29 สุขาภิบาล ดังนี้
อำเภอเมือง
อำเภอหนองวัวซอ 39 กม.
อำเภอหนองหาน 35 กม.
อำเภอบ้านผือ 55 กม.
อำเภอบ้านดุง 84 กม.
อำเภอกุมภวาปี 43 กม.
อำเภอโนนสะอาด 53 กม.
อำเภอกุดจับ 24 กม.
อำเภอวังสามหมอ 96 กม.
อำเภอสร้างคอม 68 กม.
อำเภอทุ่งฝน 65 กม.
อำเภอไชยวาน 62 กม.
อำเภอหนองแสง 35 กม.
อำเภอเพ็ญ 43 กม.
อำเภอน้ำโสม 110 กม.
อำเภอนายูง 129 กม.
อำเภอศรีธาตุ 72 กม.
อำเภอพิบูลย์รักษ์ 63 กม.
กิ่งอำเภอกู่แก้ว 65 กม.
กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม 36 กม.
โครงสร้างราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในจังหวัด
ส่วนราชการใน ระดับจังหวัดเป็นหน่วยงาน 2 ลักษณะ คือ หน่วยราชการ บริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด และหน่วยราชการบริหาร ส่วนกลางในจังหวัด (ที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง )
หน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดของ จังหวัดอุดรธานี มีทั้งสิ้น 32 หน่วยงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย 8 หน่วยงาน และสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ อีก 24 หน่วยงาน
ส่วนหน่วยราชการบริหารส่วนกลางในจังหวัด มีทั้งสิ้น 67 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ทั้งสิ้น 53 หน่วยงาน หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 7 หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระ 7 หน่วยงาน ส่วนการจัดองค์กรราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น มี 4 รูปแบบ คือ องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล แสดงโครงสร้างราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี
ราชการในจังหวัดที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลางสังกัดกระทรวงมหาดไทย
(1) ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 4
(2) สถานีตำรวจทางหลวง 3กองกำกับการ 4
(3) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่24
(4) ศูนย์สื่อสาร เขต 5
(5) กองกำกับการ 4 กองบังคับการฝึกพิเศษ
(6) เรือนจำกลางอุดรธานี
(7) สำนักงานตำรวจสันติบาล 1 ภาค 4 กองกำกับการ 2 สันติบาล 1
ส่วนราชการระดับจังหวัดสังกัดกระทรวงมหาดไทย
(1) สำนักงานจังหวัด
(2) ที่ทำการปกครองจังหวัด
(3) ตำรวจภูธรจังหวัด
(4) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
(5) สำนักงานทีดินจังหวัด
(6) สำนักงานโยธาธิการจังหวัด
(7) สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด
(8.) สำนักงานผังเมืองจังหวัด
ส่วนราชการระดับอำเภอ
(1) อำเภอ
(2) ตำบล
(3) หมู่บ้าน
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) เทศบาล
(3) สุขาภิบาล
(4) องค์การบริหารส่วนตำบล
ระยะทางจากจังหวัดอุดรธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
หนองบัวลำภู ๔๖ กิโลเมตร
หนองคาย ๕๑ กิโลเมตร
ขอนแก่น ๑๑๕ กิโลเมตร
เลย ๑๕๒ กิโลเมตร
สกลนคร ๑๕๙ กิโลเมตร
กาฬสินธุ์ ๑๙๒ กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียงคือ จังหวัดหนองคาย เลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย ระยอง เป็นต้น ซึ่งจะออกทุก ๆ ๓๐ - ๔๐ นาที
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ ( ถนนพหลโยธิน ) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๐๗ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๒ ( ถนนมิตรภาพ ) ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ ๕๖๔ กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร ( หมอชิต ๒ )
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร . ๐ ๒๙๓๖ - ๒๘๕๒ – ๖๖ และที่สถานี ขนส่งอุดรธานี โทร . ๐ ๔๒๒๒ ๑๔๘๙ www.transport.co.th
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร . ๑๖๙๐ , ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔ , ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ www.railway.co.th
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) มีเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ - อุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร . ๑๕๖๖ , ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐ , ๐ ๒๒๘๒ ๐๐๘๐ , ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ www.thaiairways.com
นอกจากนั้นไทยแอร์ เอเชีย และนกแอร์ ยังมีเที่ยวบินไปอุดรธานีทุกวัน
สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๒๕๑๕ ๙๙๙๙ www.airasia.com และ โทร. ๑๓๑๘ www.nokair.co.th
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5
http://rikudo.multiply.com/journal/item/8
http://www.baanmaha.com/community/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-13471/
http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/udonthani.htm
1 ความคิดเห็น:
Thankyou Very Much
http://www.resortinpattaya.net
แสดงความคิดเห็น