แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี

ท่องเที่ยว ภาคอีสาน

แหล่งท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดอุดรธานี



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง


ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี พ.ศ. 2517–2518 จากการศึกษาหลักฐาน ต่าง ๆ ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1822–4600 โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย ภายในพิพิธภัณฑฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดินเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ
ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราว และวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุ และนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดินทาง ไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ
เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์ฯเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4220 8340-1


ศาลหลักเมือง อุดรธานี

ศาลหลักเมืองอุดรธานี หรือเรียกว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอุดรธานี เป็นศูนย์รวมความเคารพและความศรัทธา ซึ่งชาวเมืองอุดรธานีมักจะมาสักการะบูชา ในบริเวณศาลหลักเมืองอุดรธานี ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอื่นๆ อันเป็นที่เลื่อมใสบูชาเป็นอย่างสูงได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธโพธิ์ทอง และ ท้าวเวสสุวัณ ซึ่งมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคลในแต่ละด้านที่แตกต่างกันไป ตามประวัติกล่าวว่า ศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้นสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยได้อัญเชิญดวงพระวิญญาณของ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2436 มาสถิตย์ ณ เสาหลักเมืองนี้ด้วย องค์เสาหลักเมืองทำขึ้นด้วยไม้คูณยาว 5 เมตรเศษ และฝังลึกลงไป 3 เมตร มีการบรรจุแผ่นยันต์และแก้วแหวน เงิน ทองต่างๆ เป็นจำนวนมากไว้ใต้ฐานเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมไป ตัวอาคารของศาลหลักเมืองจะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ผสมผสานศิลปะแห่งภาคอีสาน ให้เป็นที่สักการะขอพรของชาวอุดรธานีสืบมา นอกจากนี้บริเวณศาลหลักเมืองยังมีรูปปั้นท้าวเวสสุวัณ 1 ใน 4 ของท้าวจตุโลกบาลผู้ปกครองเหล่าอสูร และศาลหลักเมืองหลังใหม่ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามาสักการะศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้น สามารถบูชาและกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 ได้ในหนเดียว


สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม

อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า “หนองนาเกลือ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนเข้าไปพักผ่อน และออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก



บ้านคำชะโนด

ตั้งอยู่ที่ตำบลวังทอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านดุง มีพื้นที่ราว 20 ไร่ ซึ่งมีน้ำล้อมรอบสภาพคล้ายเกาะ มีดงต้นปาล์มชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นตาลผสมต้นมะพร้าวขึ้นอยู่ เรียกว่า ต้นชะโนด คนสมัยเรียกที่นี่ว่า "วังนาคินทรคำชะโนด" เชื่อกันว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่กลางดงเป็นประตูสู่เมืองบาดาล เป็นที่อยู่อาศัยของพญาสุทโธนาค ที่แปลกคือในดงชะโนดมีน้ำซับน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา แต่กลับไม่เคยมีน้ำท่วมเลย การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) เลี้ยวซ้ายที่บ้านหนองเม็ก ไปทางอำเภอบ้านดุง อีก 9 กิโลเมตร ถึงบ้านคำชะโนด



อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ
พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”
ถ้ำ และเพิงหินต่าง ๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเรขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่าง ๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลัง ๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง “นางอุสา-ท้าวบารส” เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมา และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้เล็ก ๆ ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ชุ่มชื้นบริเวณลานหินเหล่านี้
ภายในบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่ และเส้นทางเดินเที่ยวชมบริเวณ

เวลาเปิด-ปิด : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น.

อัตราค่าเข้าชม : นักท่องเที่ยว ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4222 2909 ต่อ 218



วนอุทยานน้ำตกธารงาม


ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี ตำบลหนองแสง มีพื้นที่ทั่งหมดประมาณ 78,125 ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527 ลักษณะสภาพพื้นที่ของวนอุทยานฯ เป็นภูเขาสูงชัน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่ห้วยสามทาก-ห้วยน้ำฆ้องตลอดปี
จุดเด่นที่น่าสนใจภายในวนอุทยานฯ มีหน้าผา ถ้ำที่สวยงาม และมีลานหิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แหล” เป็นแหลขนาดใหญ่ เนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงรายและซ้อนกันอยู่ และที่จุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้ สถานที่พัก วนอุทยานน้ำตกธารงามไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม หรือทัศนศึกษา จะต้องนำเต็นท์ไปเอง ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร. 0 4222 1725 การเดินทาง วนอุทยานน้ำตกธารงามอยู่ห่างจากอำเภอหนองแสง 6 กิโลเมตร สามารถให้เส้นทางในการเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางแรก จากอุดรธานี-บ้านเหล่า -โคกลาด- อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
เส้นทางที่สอง จากอุดรธานีไปบ้านคำกลิ้ง-บ้านตาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
เส้นทางที่สาม จากอุดรธานี-ห้วยเกิ้ง อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร


ภูฝอยลม


ฝอยลม ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานน้อย ที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดปี ชื่อของภูฝอยลมมาจากไลเคนชนิดหนึ่ง คือ “ฝอยลม”ซึ่งเคยพบเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ในบริเวณนี้ แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลงเนื่องจากป่าถูกบุกรุกจนมีสภาพเสื่อมโทรม ปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและให้เป็นที่ทัศนศึกษาของประชาชน ประกอบด้วยสวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี อุทยานโลกล้านปี มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์แสดงซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติซึ่งจะได้พบป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง สลับป่าทุ่งหญ้า น้ำตกเล็ก ๆ และถ้ำ
การเดินทาง หากเดินทางมาตามเส้นทางขอนแก่น-อุดรธานี เมื่อเลยอำเภอโนนสะอาดมาแล้วจะพบทางแยกซ้ายที่บ้านห้วยเกิ้งไปภูฝอยลม รถยนต์สามารถขึ้นถึงบนภูได้โดยสะดวก


อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง


อยู่บนทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู ตรงกิโลเมตรที่ 15 แล้วแยกเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อการเกษตร และการประมง อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 20,000 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การประมง การจ่ายน้ำเพื่อการผลิตประปา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะสำหรับการล่องแพ ตกปลา นั่งเรือชมทิวทัศน์โดยรอบได้ และภายในอ่างเก็บน้ำ มีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ท่านเคยเสด็จประทับเกือบทุกปี



สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์


ตั้งอยู่ที่ซอยกมลวัฒนา ถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เลยแยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อย ทางซ้ายมือจะมีทางแยกเข้าหนองสำโรงประมาณ 500 เมตร และเห็นป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้ทางด้านซ้ายมือ สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทยซึ่งใช้เวลาในการค้นคว้า และผสมพันธุ์ระหว่างแวนด้า (Vanda) โจเซฟฟินแวนเบอร์โร (Josephine Van Berrow) ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่สมาคมกล้วยไม้โลก ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2531 ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine Orchid หรือพันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน้ำหอมในชื่อเดียวกันไปจำหน่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4224 24755


วัดป่าบ้านตาด

ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-ขอนแก่น ถึงบริเวณสี่แยกบ้านคงเค็ง แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัดที่อยู่เลยจากชุมชนบ้านตาดไม่ไกลเท่าใดนัก สภาพโดยทั่วไปของวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคก มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ ล้อมรอบด้วยกำแพง นอกจาก มีจุดประสงค์ที่จะให้แสดงเขตแน่นอนของวัดแล้วยังป้องกันอันตรายให้กับสัตว์ ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัดอีกด้วยเพราะในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุม มาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า วัดป่าบ้านตาดเป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน พระอาจารย์วิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทา เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไปปฏิบัติธรรม


วนอุทยานวังสามหมอ

อยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลหนองกุ้งทับม้า ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบะยาว-ป่าหัวนาคำ-ป่าหนองกุ้งทับม้า-ป่านายูง และป่าหนองหญ้าไซ วนอุทยานฯ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังสามหมอประมาณ 20 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุดรธานีประมาณ 120 กิโลเมตร ประกาศเป็นวนอุทยานฯ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2527 มีเนื้อที่ประมาณ 18,750 ไร่ ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบโดยทั่วไปเป็นป่าแดง หรือป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลางขึ้น ได้แก่ไม้ยาง ไม้ตะเคียนทอง มีลำห้วย เกาะ แก่ง และโขดหินที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ บ่าง อีเห็น ชะมด นกเปล้า เป็นต้น


วัดป่าบ้านค้อ

ภายในวัดมีพระมหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระบารมีพระนวมินทร์ นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงกับพระมหาธาตุเจดีย์ยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นกิ่งพันธุ์ที่ตอนกิ่งมาจากพรศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนหมายเลข 2021 (อุดรธานี-บ้านผือ) ประมาณ 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้อ ประมาณ 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 4225 0730- 1


แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.tlcthai.com

ประวัติจังหวัดอุดรธานี

ประวัติจังหวัดอุดรธานี





ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุดรธานี










คำขวัญ จ.อุดรธานี


น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ

อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้า หมี่ - ขิต

แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์


ผู้ว่าราชการจังหวัด










นายจารึก ปริญญาพล

ความหมาขนาดตัวอักษรยของตราประจำจังหวัด :ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ.2483

ธงประจำจังหวัดอุดรธานี
: เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง

ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี
คือ ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8 - 15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือน มกราคม - มีนาคม

พันธู์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด
คือ ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15 - 20 เมตร ใบรูปไขา ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน

ประวัติเมือง

จังหวัดอุดรธานีมีตราประจำจังหวัดเป็นรูป ท้าวเวสสุวัณ (ท้าวกุเวร) ซึ่งเป็นท้าวสาวจาตุมหาราช หรือหัวหน้าเทพยดาผู้ปกปักรักษาโลกด้านทิศอุดร หรือทิศเหนือ และมี ต้นทองกาว" หรือเรียกตาม ภาษาถิ่นว่า "ต้นจาน" เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ในด้านข้อมูลประวัติการก่อตั้งเมือง มีปรากฎขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ครั้งหนึ่งของสยามเลยทีเดียวในครั้งนั้นต้องเผชิญกับภัยคุกคามการล่าอาณานิคม ของสองประเทศมหาอำนาจ คือฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งมีนโยบายล่าดินแดนแถบเอเชีย เป็นอาณานิคม ฝรั่งเศสนั้นผนวกเอาดินแดนประเทศเวียดนามและเขมร เป็นของตนส่วนอังกฤษ ก็ยึดเอาประเทศด้วยพระปรีชาญาณ รวมทั้งได้ทรงวางระเบียบแบบแผน ในการปกครองหัวเมืองชายแดนเพื่อเผชิญกับปัญหาน ี้จึงทรงแต่งตั้งบุคคลที่มี ความรู้ควาสามารถที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปปฏิบัติราชการประจำต่างหัวเมือง และหัวเมืองหน้าดานซึ่งถูกล่วงล้ำอธิปไตยได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน
ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ (ซึ่งต่อมาภายหลัง ทรงสถาปนา พระยศเลื่อนเป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) พร้อมด้วยข้าราชการทหารตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวพวน รับผิดชอบเมืองใหญ่ ๑๓ เมือง เมืองขึ้น ๓๖ เมือง ซึ่งประกอบด้วย บางเมือง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงด้วย ในขณะนั้น ฝรั่งเศสต้องการจะแบ่งดินแดนที่เคยเป็นของเวียดนาม ก็ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ทั้งได้ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมอ่าวไทย บีบบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญายอมรับสิทธิของฝรั่งเศสเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและให้ถอยกองกำลังทหารห่างจากชายแดนในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร ภายในระยะเวลา ๑ เดือน
ด้วยเหตุนี้เอง พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวน จึงต้องย้ายที่บัญชาการมณฑลลาวพวนที่ตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย พระองค์ได้ทรงเคลื่อนกองกำลังทหารและข้าราชบริพารลงมาทางใต้จนถึง"บ้านเดื่อหมากแข้ง" ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๖ ที่นี่มีชัยภูมิเหมาะสมอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างแปงเมือง ณ ที่นี้ และได้ทำหนังสือกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบ ซึ่งพระองค์ ทรงเห็นชอบที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนแห่งใหม่นี้
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงวางแผนสร้างบ้านแปลงเมือง อย่างจริงจัง ทรงวางผังเมืองและบัญชาการการก่อสร้างเมืองด้วยพระองค์เองได้ทรงสร้างศาลาว่าการเมือง ค่ายทหารและสถานที่ราชการต่างส่วนวังที่ประทับได้ทรงสร้างใกล้กับต้นโพธิ์ใหญ่และทรงสร้างวัดขึ้นตรงข้าม กับบริเวณวังที่ประทับ ซึ่งมีโบราณสถานเก่าแก่อยู่เดิมแล้ว เพื่อเป็นพระอารามหลวงคู่บ้านคู่เมือง ทรงประทาน นามวัดแห่งนี้ว่า "วัดมัชฌิมาวาส" เพื่อเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง นับแต่นั้น บ้านหมากแข้ง จึงมีฐานะเป็นกองบัฐชาการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้
เมื่อพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ได้ทรงจัดราชการบ้านเมือง มณฑลลาวพวน และวางระเบียบการปกครองหัวเมืองชายแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ พร้อมกับ ทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม" โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวนองค์ต่อมา (พ.ศ.๒๔๔๒ - พ.ศ.๒๔๔๙)
ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มีเมืองต่าง ๆ ในปกครอง รวม ๑๒ เมือง ปี พ.ศ.๒๔๔๓ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร แบ่งการปกครองเป็น ๕ บริเวณ คือ บริเวณหมากแข้ง บริเวณพาชี บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร และบริเวณน้ำเหือง ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมือง กมุทธาไสย เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาร อำเภอบ้านหมากแข้ง ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" และเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลอุดรอีกด้วย
วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร พร้อมกับกรมการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจัดพิธีตั้งเมืองขึ้น ณ สนามกลางเมือง มีการอ่านประกาศตั้งเมืองที่ปะรำพิธีและงานเฉลิมฉลอง รวม ๓ วัน ปี พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมมณฑลอุดร
มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด เป็นภาค เรียกว่า ภาคอีสาน ตั้งที่บัญชาการที่เมืองอุดรธานี และโปรดให้ยุบเลิก ในปี พ.ศ.๒๔๖๘
ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย ในครั้งนี้ ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ มณฑลอุดรจึงถูกยกเลิกคงฐานะ
เป็นจังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งปัจจุบันนี้ อนึ่ง ในวันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปี จังหวัดอุดรธานีได้กำหนดจัดงานวันที่ระลึก คล้ายวันจัดตั้งเมืองอุดรธานี" โดยถือเป็นวันร่วมกันบำเพ็ญกุศลและเฉลิมพระเกียรติพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงสร้างเมืองอุดมธานี อีกด้วย
อุดรธานี ตั้งอยู่บนที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เป็นดินแดน ที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของโลก จ.อุดรธานีตั้งอยู่บนเส้นรุ้งที่ 17 อาศาเหนือ เส้นแวงที่ 103 องศาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยห่างจาก กทม. ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ระยะทางประมาณ 562 ก.ม.
อุดรธานี ห่างจากกรุงเทพฯ ๕๖๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๑๑,๗๓๐.๓ ตารางกิโลเมตร
จ.อุดรธานี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,780.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.362 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ มากเป็นอันดับ 4 ใน 19 จังหวัด ของภาคอิสาน รองจาก จ.นครราชสีมา,อุบลราชธานีและชัยภูมิ จ.อุดรธานี แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๑๘ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง อำเภอบ้านผือ อำเภอเพ็ญ อำเภอศรีธาตุ อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอกุดจับ อำเภอโนนสะอาด อำเภอวังสามหมอ อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอสร้างคอม อำเภอทุ่งฝน กิ่งอำเภอนายูง และกิ่งอำเภอพิบูลย์รักษ์
สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ของ จ.อุดรธานี ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 ฟิต พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขง ทาง จ.หนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็กๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย พื้นที่ทางทิศตะวันตก มีภูเขาและป่าติดต่อกัน เป็นแนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาว ตั้งแต่เขตเหนือสุดไปจน จรดทางใต้สุดเขต จ.อุดรธานี มีลักษณะแบ่ง จ.อุดรธานี ออกเป็นสองส่วน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 200-700 เมตร
สภาพภูมิอากาศ ภูมิอากาศของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาล้อมรอบทาง ด้านตะวันออกและด้านใต้ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็น อยู่ทางตะวันตก เทือกเขาสันกำแพงและ พนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่ เกิดจากพายุดีเปรสชั่น ที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในระหว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝน จ.อุดรธานี ประมาณปีละ 1,400-1,600 มิลลิเมตร สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง โดยจะร้อนจัดในฤดูร้อนและ อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งในฤดูร้อนเคยมีอุณหภมิ สูงสุดถึง 43.9 องศาเซลเซียส และในช่วนฤดูหนาวเคยมี อุณหภูมิต่ำสุดถึง 2.5 อาศาเซลเซียส ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีอุณหภูมิสูงสุด 39.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม 2539 อุณหภูมิต่ำสุด 7.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม 2539 ปริมาณน้ำฝนรวมวัดได้ 1,844.8 มิลลิเมตร

อาณาเขตติดต่อ



ทิศเหนือ จดจังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ จดจังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก จดจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก จดจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลย


แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขต

การปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 155 ตำบล 1,666 หมู่บ้าน 1 เทศบาล 150 องค์การบริหารส่วนตำบล และ 29 สุขาภิบาล ดังนี้
อำเภอเมือง
อำเภอหนองวัวซอ 39 กม.
อำเภอหนองหาน 35 กม.
อำเภอบ้านผือ 55 กม.
อำเภอบ้านดุง 84 กม.
อำเภอกุมภวาปี 43 กม.
อำเภอโนนสะอาด 53 กม.
อำเภอกุดจับ 24 กม.
อำเภอวังสามหมอ 96 กม.
อำเภอสร้างคอม 68 กม.
อำเภอทุ่งฝน 65 กม.
อำเภอไชยวาน 62 กม.
อำเภอหนองแสง 35 กม.
อำเภอเพ็ญ 43 กม.
อำเภอน้ำโสม 110 กม.
อำเภอนายูง 129 กม.
อำเภอศรีธาตุ 72 กม.
อำเภอพิบูลย์รักษ์ 63 กม.
กิ่งอำเภอกู่แก้ว 65 กม.
กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม 36 กม.


โครงสร้างราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในจังหวัด

การจัดองค์กรราชการบริหารส่วนภูมิภาค มี หน่วยราชการที่อยู่ในการกำกับดูแลของ ผู้ว่าราชการจังหวัด คือ ส่วนราชการต่างๆ ใน ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
ส่วนราชการใน ระดับจังหวัดเป็นหน่วยงาน 2 ลักษณะ คือ หน่วยราชการ บริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด และหน่วยราชการบริหาร ส่วนกลางในจังหวัด (ที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง )
หน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดของ จังหวัดอุดรธานี มีทั้งสิ้น 32 หน่วยงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย 8 หน่วยงาน และสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ อีก 24 หน่วยงาน
ส่วนหน่วยราชการบริหารส่วนกลางในจังหวัด มีทั้งสิ้น 67 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ทั้งสิ้น 53 หน่วยงาน หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 7 หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระ 7 หน่วยงาน ส่วนการจัดองค์กรราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น มี 4 รูปแบบ คือ องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
แสดงโครงสร้างราชการบริหารส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี

ราชการในจังหวัดที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลางสังกัดกระทรวงมหาดไทย

(1) ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 4
(2) สถานีตำรวจทางหลวง 3กองกำกับการ 4
(3) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่24
(4) ศูนย์สื่อสาร เขต 5
(5) กองกำกับการ 4 กองบังคับการฝึกพิเศษ
(6) เรือนจำกลางอุดรธานี
(7) สำนักงานตำรวจสันติบาล 1 ภาค 4 กองกำกับการ 2 สันติบาล 1

ส่วนราชการระดับจังหวัดสังกัดกระทรวงมหาดไทย

(1) สำนักงานจังหวัด
(2) ที่ทำการปกครองจังหวัด
(3) ตำรวจภูธรจังหวัด
(4) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
(5) สำนักงานทีดินจังหวัด
(6) สำนักงานโยธาธิการจังหวัด
(7) สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด
(8.) สำนักงานผังเมืองจังหวัด

ส่วนราชการระดับอำเภอ

(1) อำเภอ
(2) ตำบล
(3) หมู่บ้าน

ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) เทศบาล
(3) สุขาภิบาล
(4) องค์การบริหารส่วนตำบล


ระยะทางจากจังหวัดอุดรธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
หนองบัวลำภู ๔๖ กิโลเมตร
หนองคาย ๕๑ กิโลเมตร
ขอนแก่น ๑๑๕ กิโลเมตร
เลย ๑๕๒ กิโลเมตร
สกลนคร ๑๕๙ กิโลเมตร
กาฬสินธุ์ ๑๙๒ กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารประจำทางเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียงคือ จังหวัดหนองคาย เลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ เชียงราย ระยอง เป็นต้น ซึ่งจะออกทุก ๆ ๓๐ - ๔๐ นาที

การเดินทาง

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ ( ถนนพหลโยธิน ) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๐๗ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๒ ( ถนนมิตรภาพ ) ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ ๕๖๔ กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร ( หมอชิต ๒ )
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร . ๐ ๒๙๓๖ - ๒๘๕๒ – ๖๖ และที่สถานี ขนส่งอุดรธานี โทร . ๐ ๔๒๒๒ ๑๔๘๙ www.transport.co.th
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร . ๑๖๙๐ , ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔ , ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ www.railway.co.th
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) มีเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ - อุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร . ๑๕๖๖ , ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐ , ๐ ๒๒๘๒ ๐๐๘๐ , ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ www.thaiairways.com
นอกจากนั้นไทยแอร์ เอเชีย และนกแอร์ ยังมีเที่ยวบินไปอุดรธานีทุกวัน
สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๒๕๑๕ ๙๙๙๙ www.airasia.com และ โทร. ๑๓๑๘ www.nokair.co.th


แหล่งที่มาของข้อมูล


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5
http://rikudo.multiply.com/journal/item/8
http://www.baanmaha.com/community/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-13471/
http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/udonthani.htm

จังหวัดอุดรธานี


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์

เว็บไซต์ คืออะไร

เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น



สรุป เว็บไซต์ คือ ชื่อเรียกหรือที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ
เว็บเพจ คือ หน้าแต่ละหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน
โฮมเพจ คือ หน้าแรกที่เข้าสู่เว็บไซต์นั้น ๆ





ส่วนประกอบของเว็บเพจที่สำคัญ มีดังนี้

1. ข้อความ (Text) ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นภาษาอังกฤษ ไทย หรือภาษา อื่น ๆ ก็ได้
2. กราฟิก (Graphics) ได้แก่ ภาพวาดและรูปภาพต่าง ๆ
3. มัลติมีเดีย (Multimedia) ได้แก่ ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดิทัศน์ เสียง
4. ลิงก์ (Link) ข้อความหรือรูปภาพที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยัง เว็บเพจอื่น ๆ ได้ เราสามารถตรวจสอบได้ว่าส่วนใดเป็นลิงก์โดยนำเมาส์ไปนี้สัญลักษณ์เมาส์จะเปลี่ยนเป็นมือ แสดงว่าส่วนนั้นเป็นลิงก์


ประเภทโปรแกรมที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต

1. โปรแกรมประเภทบราวเซอร์
โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับท่องเว็บไปยังเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยปกติแล้วเราจะคุ้นเคยกับโปรแกรมที่มีชื่อว่า Internet Explorer ที่มาพร้อมกับวินโดว์ แต่ความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ และปัจจุบันมีการพัฒนาทำให้สามารถใช้คำสั่งเป็นภาษาไทยได้





2. โปรแกรมประเภทสร้างเว็บเพจ
โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างหน้าเว็บเพจที่เราใช้เข้าไปดู ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้มีอยู่มากมายหลายโปรแกรม ที่โครงสร้างหลักแล้ว Web ส่วนใหญ่ใช้โครงสร้างภาษา HTML ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บ เช่น โปรแกรม PHP โปรแกรม JAVA และอื่น ๆ แต่เรามาดูโปรแกรมที่คุยเคยกันดีกว่านั้นคือโปรแกรม Word ก็สามารถสร้างเว็บได้



3. โปรแกรมประเภทสนทนา
สำหรับโปรแกรมประเภทนี้ เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อหรือสารระหว่างกันซึ่งอาจติดต่อด้วยการพิมพ์ผ่านทางแป้นพิมพ์ การคุยผ่านไมโครโฟน และผ่านกล้องวีดีโอ ซึ่งทำให้เห็นทั้งภาพและเสียงขณะที่คุยกัน มีโปรแกรมหลายประเภทที่ใช้เกี่ยวกับการสนทนา แต่ Windows ก็มีโปรแกรมที่เรียกว่า NetMeeting




จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

ผู้ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มารู้จักกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันก่อน
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่ต่างไปจากจดหมายทั่ว ๆ ไป คือ จะต้องมีผู้ให้บริการ ซึ่งเปรียบเทียบแล้วก็ที่ทำการไปรษณีย์นี่เอง เป็นผู้จัดการส่งหรือรับจดหมายให้เรา ผู้ใช้งานจะต้องมีที่อยู่ของตนเองกับผู้ให้บริการนั้น ๆ ซึ่งสามารถขอได้ บางที่อาจจะมีค่าบริการ แต่สำหรับของไทยมีฟรีหลายที่ การขอที่อยู่ส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เพื่อใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิก


เว็บไซต์ที่ให้บริการ

1. www.hotmail.com
เป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาสามารถใช้งานภาษาไทยได้

2. www.yahoo.com
เป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาสามารถใช้งานภาษาไทยได้




3.www.chaiyo.com

เป็นผู้ให้บริการในประเทศไทยสำหรับคนไทย ออกแบบหน้าจอเป็นภาษาไทย สามารถใช้งานได้ง่าย


4. www.thaimail.com
เป็นผู้ให้บริการในประเทศไทยสำหรับคนไทย ออกแบบหน้าจอเป็นภาษาไทย สามารถใช้งานได้ง่าย



แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.irookie.net/blog/category/website/design-website/
http://school.obec.go.th/kudhuachang/les07.htm
http://school.obec.go.th/kudhuachang/les05.htm
http://school.obec.go.th/kudhuachang/les09.htm
http://school.obec.go.th/kudhuachang/pic6.jpg
http://school.obec.go.th/kudhuachang/pic8.jpg
http://school.obec.go.th/kudhuachang/pig9.jpg
http://www.irookie.net/blog/category/website/promote-web/

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษา โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย? โดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านทางโมเด็มด้วยระบบ MSHnet และ UUCP ?โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลระหว่างประเทศวันละ 4 ครั้ง

พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่าย ?ไทยสาร (Thaisarn : Thai Social/scientific, Academic and Research Network)?? เพื่อพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่

1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


พ.ศ. 2536 เครือข่ายไทยสารขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษา? และหน่วยงานของรัฐเพิ่มเป็น 19 แห่ง โดยทาง NECTEC? ได้ทำการเช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล

พ.ศ. 2537 ประเทศไทยมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งสิ้น 35 เครือข่าย เป็นคอมพิวเตอร์รวมทั้งสิ้น 1,267 เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจัดได้ว่าประเทศไทยมีเครือข่ายใหญ่เป็นอันดับ 6 ในย่านเอเซียแปซิฟิก รองจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และนิวซีแลนด์
ปัจจุบัน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร และขยายตัวออกส่วนภูมิภาคแล้ว เครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะให้บริการเชิงธุรกิจ ส่วนเครือข่ายไทยสารยังคงให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐโดยไม่หวังผลกำไร





อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น


เรามักจะได้ยินผู้คนพูดถึงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบ่อยครั้งมากในปัจจุบันซึ่งระบบอินเตอร์เน็ตนี้เองทำให้เราสามารถเชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าด้วยกันและสามารถติดต่อไปมาหากันและ ค้นหาข้อมูลที่มีประโยชน์ได้อย่างมากมาย ในปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ถูกพัฒนา ให้สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ การรับส่งข่าวสาร การพูดคุย การค้นหาข้อมูล จากแหล่งข้อมูลได้ทั่วโลก อินเตอร์เน็ตจึงเปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลข่าวสารที่โยงใยถึงกันทำให้ในปัจจุบันองค์กรจำนวนมากเห็นความสำคัญของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต






ความหมายของระบบอินเทอร์เน็ต


อินเตอร์เน็ต คือ กลุ่มเครือข่ายของคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ข้อความ ภาพ และเสียงได้ รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว


ประวัติความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ต

พ.ศ. 2510 เป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตั้งเครือข่ายที่เรียกว่า ?อาร์ปาเน็ต (ARPANET หรือ Advanced Research Project Agency) เป็นเหตุผลทางทหารในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐกลัวว่ารัสเซียอาจยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุด ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นอัมพาต จึงได้ริเริ่มงานวิจัยเครือข่ายใหม่ซึ่งเป็น เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์

พ.ศ. 2512 โครงการอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ได้เริ่มงานวิจัยในเดือนมกราคมในรูปแบบที่ไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) โดยตรง แต่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ที่เชื่อมถึงกันด้วยสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะแต่ละ IMP สามารถเชื่อมต่อได้หลายโฮสต์ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาบารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีโฮสต์ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า ?แพ็กเก็ตสวิตชิง? (packet Switching)

พ.ศ. 2515 เครือข่าย ARPANET ได้ขยายไปสู่สถาบันต่าง ๆ ถึงกว่า 50 แห่ง เพื่อใช้ในการค้นคว้าและวิจัยทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบได้

พ.ศ. 2525 ได้มีการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ ARPANET ได้วางรากฐานให้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ และถือเป็นมาตรฐานที่เป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน

พ.ศ. 2527 มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันถึง 1,000 เครื่อง โดยขยายการเชื่อมต่อเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนด้วย

พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ของ ARPANET มาใช้เพื่อเชื่อมหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ เข้ากับศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นที่มาของ ?เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์? หรือ CSnet

พ.ศ. 2532 มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตมากถึง 10,000 เครื่อง จึงได้มีการขนานนามใหม่ว่า ?อินเตอร์เน็ต (Internet)?



เครือข่ายหลักของระบบอินเทอร์เน็ต


เครือข่ายหลักของระบบอินเตอร์เน็ต (Internet Backbone)

ส่วนที่สำคัญที่สุดของอินเตอร์เน็ตก็คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ซึ่งทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลัง หรือแกนหลัก (Backbone) ของระบบ ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างโหนด (Node) ต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญเรียกว่า เราเทอร์ (Router) ศูนย์กลางระบบเครือข่ายที่รู้จักกันแพร่หลายก็คือ NSFnet ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science )




ต่อมา NSFnet ได้ปรับปรุงโครงสร้างของระบบเครือข่ายใหม่ และใช้ชื่อใหม่ว่า NAPs (Network Access Points) โดยมีศูนย์บริการความเร็วสูงชื่อ vBNS (very high speed Backbone Network Service) ผสมผสานกับอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีของ ATM (Asynchronous Transfer Mode) ผ่านเส้นใยนำแสง ปัจจุบัน NAPs ยังคงพัฒนาไปเรื่อย ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีแนวโน้มในการ พัฒนาเป็นระบบ MBONE (Multicasting Bone) เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารแบบ Real Time (เวลาจริง) เพื่อสามารถรองรับสัญญาณเสียง วีดิทัศน์ และระบบประชุมทางไกลด้วยภาพ
(Video Conference System) อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายที่ครอบคลุมไปทั่วโลก และมีข้อมูลจำนวนมากที่เราสามารถค้นคว้าและรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ อินเตอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสารไร้พรมแดนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งพอสรุปบริการต่าง ๆ ที่สามารถเรียกใช้บนอินเตอร์เน็ตได้ดังนี้

World Wide Web (WWW หรือ Web) เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย โดยใช้วิธีการแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลแอนท์ / เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) โดยอาศัยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะแสดงเป็นแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ทำให้สามารถผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรง

FTP (File Transfer Protocol) เป็นบริการการโอนย้ายข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือ 1. การดาวน์โหลด (Downloading) เป็นการโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ 2. การอัพโหลด (Uploading) เป็นการโอนย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปยัง FTP Server

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ Email) เป็นบริการส่งจดหมายที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ผู้ใช้สามารถส่งข้อความพร้อมแนบไฟล์ภาพ หรือเสียง หรือไฟล์ข้อมูลใด ๆ ไปกับจดหมายได้ด้วย ปัจจุบันมีเว็บไซต์จำนวนมากให้บริการรับ-ส่งจดหมายฟรี

Gopher เป็นบริการช่วยค้นหาข้อมูลในรูปแบบข้อความล้วนๆ (Text) ซึ่งทำงานแบบลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/Server) โดยเครื่องลูกข่ายที่ต้องการค้นหาข้อมูลจะส่งคำร้องขอไปยังเครื่องแม่ข่าย เมื่อเครื่องแม่ข่ายค้นหาพบก็จะส่งข้อมูลกลับมา

Telnet เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถล๊อกอิน (Login) เข้าสู่ระบบเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งทำงานตาม
ที่ต้องการโดยจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้




บริการระบบอินเตอร์เน็ต



องค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม ดูแลองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทั้งหมด รวมถึงประสานงานกับองค์การที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ISO และ ITU-T อีกด้วย IAB มีคณะทำงานอยู่ 2 คณะ คือ

1.Internet Engineering Task Force หรือ IETF
2.Internet Research Task Force หรือ IRTF ซึ่งจะทำหน้าที่จัดทำเอกสารกำหนดรายละเอียด
เกี่ยวกับโพรโตคอล และมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตอีกด้วย ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (ISP) ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) หมายถึงหน่วยงานที่ให้บริการในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องสมัครเป็นสมาชิก ISP ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมง รายเดือน หรือรายปี แล้วแต่จะตกลงกัน ตัวอย่างของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แก่ Ji-net, A-Net Internet, Internet KSC, Asia Net, Pacific Internet, Loxinfo และ CS Internet เป็นต้น

การตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต อาจพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ

1.ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Reliability) เช่นชื่อเสียงทางธุรกิจของบริษัท จำนวนลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัท เป็นต้น
2.ประสิทธิภาพของตัวระบบ (Performance) ซึ่งอาจดูได้จากการเชื่อมต่อง่าย รวดเร็ว และต่อเนื่องหรือไม่ เมื่อต่อแล้วสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่ การรับส่งข้อมูลสม่ำเสมอเพียงใด
3.มีบริการให้คำปรึกษาการใช้งาน (Technical Support)
4.เนื้อที่ในการให้บริการจัดเก็บข้อมูล เช่นอีเมล์ หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต
5.โมเด็มหรือเบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบดูว่ารองรับกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่หรือไม่
6.ค่าบริการ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องดูว่าคุ้มค่ากับบริการท ี่ได้รับหรือไม่
7.บริการเสริมต่าง ๆ

สิ่งที่ได้รับเมื่อสมัครเป็นสมาชิกจากผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

1.User Account ซึ่งประกอบด้วย Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
2.หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อใช้สำหรับหมุนโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
3.แผ่นดิสก์ หรือซีดีรอม เพื่อใช้ในการติดตั้งค่าในเครื่องคอมพิวเตอร์
4.คู่มือการใช้งาน


แหล่งที่มาของข้อมูล

http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page2.html
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page3.html
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page2.html
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page4.html
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page5.html
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/page6.html
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/index2.html
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/Untitled-1_clip_image001.gif
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/clip7_image001.gif
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g30/clip5_image002.gif

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์

1. มาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ เห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม

2. สาระสำคัญ ความหมายของคำหลักหรือคำสำคัญ (Key word) ที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ หลักการออกแบบเว็บไซต์ที่ถูกต้อง รวมถึงข้อผิดพลาดในการออกแบบเว็บไซต์ เป็นความรู้เบื้องต้นที่ผู้เรียนควรทราบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์

3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ได้

4. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของคำเกี่ยวกับเว็บไซต์ได้
2. วิจารณ์เว็บไซต์ตามหลักวิชาการได้

5. สาระการเรียนรู้
1. คำจำกัดความพื้นฐาน
2. หลักการออกแบบเว็บไซต์
3. ข้อผิดพลาดในการออกแบบเว็บไซต์

คำจำกัดความพื้นฐาน

ก่อนที่จะเรียนรู้การสร้างเว็บไซต์ ต้องรู้ถึงคำบางคำที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเว็บไซต์ ดังนี้



เว็บเพจ (Web Page) หมายถึง เอกสารที่ประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser



โฮมเพจ (HomePage) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ ข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานต้องมีชื่อไฟล์ว่า index.html หรือ index.htm

เว็บไซต์ (Website) ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจบนระบบอินเทอร์เน็ต ตัวอย่าง เช่น เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บ คือ www.nu.ac.th เว็บไซต์ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บ www.nmm.ac.th เป็นต้น

Web Browser หมายถึงโปรแกรมใช้ในการแสดงผลภาษา HTML ให้แสดงในรูป World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer




หลักการออกแบบเว็บไซต์

การออกแบบเว็บไซต์ คำนึงถึงความเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลเป้าหมายผู้ใช้และลักษณะของเว็บไซต์ ความสะดวกในการใช้งาน

องค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์ ต้องคำนึงถึง


1. ความเรียบง่าย ได้แก่ มีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานได้สะดวก ไม่มีกราฟิกหรือตัวอักษรที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ชนิดและสีของตัวอักษรไม่มากจนเกินไปทำให้วุ่นวาย
2. ความสม่ำเสมอ ได้แก่ ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เช่น รูปแบบของหน้า สไตล์ของกราฟิก ระบบเนวิเกชันและโทนสี ควรมีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์
3. ความเป็นเอกลักษณ์ การออกแบบเว็บไซต์ควรคำนึงถึงลักษณะขององค์กร เพราะรูปแบบของเว็บไซต์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กรนั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นเว็บไซต์ของทาง ราชการ จะต้องดูน่าเชื่อถือไม่เหมือนสวนสนุก ฯลฯ
4. เนื้อหาที่มีประโยชน์ เนื้อหาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเว็บไซต์ ดังนั้นควร จัดเตรียมเนื้อหาและข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้อง และสมบูรณ์ มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เนื้อหาไม่ควรซ้ำกับเว็บไซต์อื่น จึงจะดึงดูดความสนใจ
5. ระบบเนวิเกชันที่ใช้งานง่าย ต้องออกแบบให้ผู้ใช้เข้าใจง่ายและใช้งานสะดวก ใช้กราฟิกที่สื่อความหมายร่วมกับคำอธิบายที่ชัดเจน มีรูปแบบและลำดับของรายการที่สม่ำเสมอ เช่น วางไว้ ตำแหน่งเดียวกันของทุกหน้า
6. ลักษณะที่น่าสนใจ หน้าตาของเว็บไซต์จะต้องมีความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ เช่น คุณภาพของกราฟิกที่จะต้องสมบูรณ์ การใช้สี การใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา การใช้โทนสีที่เข้ากัน ลักษณะหน้าตาที่น่าสนใจนั้นขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล
7. การใช้งานอย่างไม่จำกัด ผู้ใช้ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด เลือกใช้บราวเซอร์ชนิดใดก็ได้ในการเข้าถึงเนื้อหา สามารถแสดงผลได้ทุกระบบปฏิบัติการและความละเอียดหน้าจอต่างๆ กันอย่างไม่มีปัญหา เป็นลักษณะสำคัญสำหรับผู้ใช้ที่มีจำนวนมาก
8. คุณภาพในการออกแบบ การออกแบบและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ สร้างความรู้สึกว่าเว็บไซต์มี….คุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้
9. ระบบการใช้งานที่ถูกต้อง การใช้แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลต้องสามารถกรอกได้จริง ใช้งานได้จริง ลิงค์ต่างๆ จะต้องเชื่อมโยงไปหน้าที่มีอยู่จริงและถูกต้อง ระบบการทำงานต่างๆ ในเว็บไซต์จะต้องมีความแน่นอนและทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง

พื้นฐานในการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี

มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ ตรงกับที่ผู้ใช้ต้องการ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา และพัฒนาเว็บไซต์อยู่เสมอ ใช้เวลาในการดาวน์โหลดน้อย แสดงผลเร็ว ใช้งานที่สะดวก เข้าใจง่าย

โปรแกรมที่ใช้การสร้างเว็บไซต์

Macromedia Dreamweaver
Microsoft FrontPage
HomeSite
HotDog Pro
GoLive
NetObjects Fusion
CoffeeCup
ฯลฯ


ข้อผิดพลาดในการออกแบบเว็บไซต์

1. ใช้โครงสร้างหน้าเว็บเป็นระบบเฟรม การใช้กรอบ (Frame) เนื่องจากการใช้เฟรมมักจะมีญหาในการที่จะสร้างเว็บเพจ จึงไม่ควรนำมาใช้ แต่ในปัจจุบันขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจมากขึ้น ทำให้ปัญหาในข้อนี้หมดไป
2. ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยไม่จำเป็น ความเร็วในการโหลดเว็บเพจ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการทำเว็บเพจอีกสิ่งหนึ่ง คือ ความเร็วในการโหลดเว็บเพจ ผู้เข้าชมไม่ควรใช้เวลานานเกินสมควร ในการรอให้โหลดเว็บเพจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแรกของการโหลด เพราะมีหลายครั้งผู้เข้าเยี่ยมชมจะหยุดการโหลด เว็บเพจและเปลี่ยนไปหาข้อมูลจากที่อื่น ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวงของผู้ทำเว็บเพจ ปัจจัยที่จะกระทบต่อความเร็วได้แก่ ขนาดของรูปภาพที่ใช้, จำนวนของรูปภาพที่ใช้ และปริมาณของตัวอักษรที่อยู่บนหน้านั้น ๆ อนึ่งความเร็วในการโหลดเว็บเพจ อาจอยู่ที่ Server ที่เว็บเพจนั้นว่ามีความสามารถสูงเพียงใด ขนาดของรูปภาพที่ใช้ควรจะมีขนาดไม่เกิน 20 – 30 Kb. ต่อรูป ส่วนประกอบของรูปนั้นควรเป็น GIF หรือ JPEG ถ้าขนาดของรูปภาพใหญ่เกินไป อาจตัดแบ่งให้ขนาดเล็กลงและใช้ตารางช่วยในการจัดรูปภาพนั้น ๆ แต่ก็ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป เพราะนั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ลดความเร็วของการโหลดเว็บเพจ
3. ใช้ตัวหนังสือหรือภาพที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา การใช้เทคนิคต่าง ๆ มากเกินความจำเป็น เช่น ภาพเคลื่อนไหว หรือตัวอักษรวิ่ง (Marquees) นอกจากนี้มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบเนื้อหา เนื่องจากเทคนิคเหล่านี้จะรบกวนการอ่านได้
4. มีที่อยู่เว็บไซต์ที่ซับซ้อน (URL) ยากต่อการจดจำ/พิมพ์ การใช้ยูอาร์แอลที่ซับซ้อนหรือยาวเกินไป ซึ่งจะไม่สะดวกต่อการพิมพ์ลงในช่องเเอดเดรส (Address)
5. ไม่มีการแสดงชื่อและที่อยู่ของเว็บไซต์ในหน้าเว็บเพจ
6. มีความยาวของหน้ามากเกินไป หน้าจอที่เป็นลักษณะการเลื่อนขึ้นลง (Scrolling) เนื่องจากมีเนื้อหายาวเกินไปทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ดูเนื้อหาที่อยู่ด้านลง เพราะฉะนั้นจึงควรเสนอเนื้อหาที่มีความสำคัญไว้ ด้านบนสุดในแต่ละหน้า
7. ขาดระบบเนวิเกชันที่มีประสิทธิภาพ เช่น แผนผังของเว็บไซต์หรือปุ่มควบคุมเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นเดินหน้า ถอยหลัง รวมทั้งการใช้เครื่องมือสืบค้น (Search Engine) ช่วยในการค้นหาหน้าที่ต้องการ และ การมีหน้าที่ไม่มีการเชื่อมโยง (Orphan Page) ทำให้ผู้ใช้ไม่รู้จะทำอย่างไร ต่อไป อย่างน้อยในแต่ละหน้า ควรจะทำตัวเชื่อมโยงที่กลับไปยัง โฮมเพจ(หน้าแรกของเว็บไซต์) ได้
8. ใช้สีของลิงก์ไม่เหมาะสม สีของตัวเชื่อมโยงที่ไม่เป็นมาตรฐาน ทำให้เกิดความสับสนได้
9. ข้อมูลเก่าไม่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย
10. เว็บเพจแสดงผลช้า ใช้เวลาดาวน์โหลดนาน ผู้ใช้จะเกิดอาการเบื่อหน่ายและเลิกให้ความสนใจกับเว็บที่ใช้เวลาในการแสดงผลนาน สาเหตุเนื่องมาจาก การใส่รูปภาพขนาดใหญ่ ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรวิ่ง และมีมากเกินไปต่อเอกสารหน้าเว็บ


แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.chaiwbi.com/0drem/unit01/152.html
http://www.chaiwbi.com/0drem/unit01/15object.html
http://www.chaiwbi.com/0drem/unit01/150.html
http://www.chaiwbi.com/0drem/unit01/151.html
http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:bLKvsdb42rDOSM:http://web.naitam.com/web-images/login.jpg
http://www.chaiwbi.com/0drem/unit01/1101/345.jpg
http://www.chaiwbi.com/0drem/intro.htm



l