วัฒนธรรมด้านภาษาของภาคอีสาน

ภาษาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน

ภาคอีสาน เป็นเขตหรือภาคหนึ่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง
การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆ
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เรียกว่า เซิ้ง เป็นต้น
ภาคอีสาน มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ หนี่งในสาม ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง และภูกระดึง เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล

ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาไทยถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาลาว ในอดีตเคยเขียนด้วยอักษรธรรมล้านช้างหรืออักษรไทยน้อย ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรไทย มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ

ตัวอย่างภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน - แปลเป็นภาษากลาง

กะซาง - ช่างเถอะ

กินเข่าสวย - รับประทานอาหารกลางวัน

กินดอง - เลี้ยงฉลองสมรส

กะจังว่า - ก็นั่นน่ะสิ

เกี้ยงตั๊บ - หมดเกลี้ยง

กัดแข้วบืน - กัดฟันสู้

กะด้อ กะเดี้ย - อะไรกันนักหนา

เกิบ - รองเท้าแตะ


ภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ:
1.ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในท้องที่ เวียงจันทน์ บอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่ จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมือง ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมือง ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน)
2.ภาษาลาวเหนือ ใช้กันในท้องที่ เมืองหลวงพระบาง ไซยะบูลี อุดมไซ จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
3.ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้กันในท้องที่เมืองเซียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนใน ภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
4.ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวันนะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร หนองคาย (อ.เซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร
5.ภาษาลาวใต้ ใช้กันในท้องที่แขวงจำปาสัก สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร
6.ภาษาลาวตะวันตก ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียงมลฑลร้อยเอ็ด ของประเทศสยาม
ในอดีตเคยเขียนด้วยอักษรธรรมล้านช้างสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา หรือเขียนด้วยอักษรไทยน้อยสำหรับเรื่องราวทางโลก ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรไทย มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ

ประเด็นการสะกดคำภาษาอีสาน

การสะกดภาษาอีสานโดยมากเท่าที่พบในโอกาสต่าง ๆ จะสะกดคำที่เป็นคำไทยตามแบบไทย แต่สะกดคำที่เป็นคำลาวตามเสียงอ่าน เนื่องจากไม่เคยมีแหล่งอ้างอิงตัวสะกดเป็นแบบแผนให้เห็น ซึ่งก็จะทำให้เกิดความลักลั่น ที่แต่ละคำใช้อักขรวิธีต่างกัน รวมทั้งผันแปรไปมาตามสำเนียงหรือวิธีถ่ายเสียงของคนเขียน
ยกตัวอย่างเช่น คำว่า "หม้ำ" ที่หมายถึงอาหารที่คล้ายไส้กรอก แต่ทำจากตับวัวหรือควาย ใส่ข้าวและเครื่องเทศ สีจะเป็นสีดำ คำนี้ ภาษาอีสานจะออกเสียงเป็นเสียงเอกว่า "หม่ำ" เหมือนกับที่ออกเสียงคำว่า "หม้อ" ว่า "หม่อ" แต่จะเห็นการสะกดโดยทั่วไปเป็น "หม่ำ" ตามเสียงอ่าน ทีนี้ เมื่อเขียนเป็นประโยคว่า "เอาหม่ำไปใส่หม้อ" ถ้าจะอ่านทั้งประโยคเป็นภาษาอีสานตามตัวสะกดก็จะอ่านได้เป็น "เอ่ามำไป่ไซหม่อ" ซึ่งทำให้เสียงของ "หม้ำ" กลายเป็น "มำ" (สามัญสูง) แทนที่จะเป็น "หม่ำ" ตามเสียงที่ถูกต้อง และถ้าจะอ่านให้ถูกต้อง ผู้อ่านจะต้องแยกแยะเอาเองจากบริบท ว่าคำไหนเป็นคำไทย คำไหนเป็นคำลาว ซึ่งจะเพิ่มความซับซ้อนในการอ่านอย่างมาก และคำโดยส่วนใหญ่จะคลุมเครือ เพราะภาษาไทยและลาวมีคำที่ใช้เหมือนกันมากมาย เช่นคำว่า "หม้อ" ในประโยคตัวอย่าง ก็มีความเป็นลาวพอ ๆ กับที่เป็นคำไทย การไปแยกแยะชัดเจนแล้วอ่านแบบคำไทยจึงไม่สมเหตุสมผล แต่ถ้าเขียนเป็น "เอาหม้ำไปใส่หม้อ" ผู้อ่านสามารถอ่านออกเสียงด้วยหลักการเดียวกันทุกคำได้อย่างถูกต้องโดยไม่ต้องแยกแยะ และนี่น่าจะเป็นการสะกดรูปคำที่ถูกต้อง เราอ่านคำว่า "หม้อ" ด้วยหลักการไหน ก็น่าจะอ่านคำว่า "หม้ำ" ด้วยหลักการเดียวกัน
เมื่อตรวจสอบกับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็ปรากฏว่าท่านเก็บคำว่า "หม้ำ" ในรูปไม้โท
ตัวอย่างการผันวรรณยุกต์ดังกล่าว คงพอทำให้เห็นภาพ ว่าผมต้องการเสนอการสะกดคำภาษาอีสานแบบไหน แต่ถ้าจะให้ครอบคลุมประเด็นอื่น ๆ นอกเหนือจากการผันวรรณยุกต์แล้ว ผมขอเสนอให้ใช้ตัวสะกดภาษาลาวปัจจุบันเป็นแนวทาง ด้วยเหตุผลของรากแห่งวัฒนธรรมอีสานตามประวัติศาสตร์
ในยุคประวัติศาสตร์นั้น พื้นที่ภาคอีสานของไทยเคยถูกครอบครองโดยชนชาติขอมในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ แล้วก็เปลี่ยนมือมาเป็นอาณาจักรล้านช้างของลาวในเวลาต่อมา ก่อนที่จะมาขึ้นตรงต่อสยามเมื่อกรุงศรีอยุธยาแผ่อำนาจขึ้นมา แต่ตลอดสมัยอยุธยานั้น แม้ในทางการปกครอง หัวเมืองต่าง ๆ ในอีสานจะขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ก็อยู่ในฐานะคล้ายเมืองประเทศราช ในทำนองเดียวกับเชียงใหม่และนครศรีธรรมราช โดยประชากรส่วนใหญ่มาจากลาวล้านช้าง และยังมีการอพยพเข้ามาเพิ่มเติมอีกหลายระลอกในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทั้งจากภัยสงครามระหว่างลาวฝ่ายต่าง ๆ ด้วยกันเอง และจากการกวาดต้อนของราชสำนักไทย ดังนั้น โดยเนื้อแท้แล้ว ชาวอีสาน โดยเฉพาะอีสานตอนบน ก็สืบเชื้อสายและวัฒนธรรมมาจากลาวล้านช้างนั่นเอง วัฒนธรรมต่าง ๆ จึงกลมกลืนกันอย่างแยกไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นภาษา ดนตรี การละเล่น ขนบธรรมเนียมประเพณี และคติความเชื่อต่าง ๆ และถ้าจะเข้าใจเรื่องภาษาพูดและภาษาเขียนของอีสาน ก็จำเป็นต้องศึกษาเทียบเคียงกับภาษาลาวเป็นหลัก
ถ้าพูดถึงตัวเขียนของภาษาอีสานดั้งเดิม จะใช้อักษรสองชนิด คือ อักษรไทน้อย ซึ่งมีรากเดียวกับอักษรลาวในปัจจุบัน และ อักษรธรรม ซึ่งมีรากร่วมกับอักษรธรรมล้านนา โดยอักษรธรรมมักจะใช้ในคัมภีร์ทางศาสนา แต่ปัจจุบันหาผู้ที่รู้อักษรทั้งสองแบบนี้ได้ยากแล้ว จะหาหลักฐานได้ก็แต่จากจารึกโบราณเท่านั้น ดังนั้น แหล่งหนึ่งที่จะใช้สืบเสาะอ้างอิงภาษาเขียนของอีสานได้ ก็จากภาษาลาวปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ภาษาลาวปัจจุบันก็ได้ผ่านการปฏิวัติครั้งใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ทำให้มีการลดจำนวนอักษรลง พร้อมตัดความซับซ้อนต่าง ๆ ลงจนเหลือเพียงการเขียนตามเสียงอ่าน การอ้างอิงจึงทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ยังถือเป็นแหล่งที่ช่วยได้มากที่สุดในขณะนี้ หากจะให้ได้ภาษาเขียนที่แท้จริงของอีสาน ความหวังหนึ่งอาจจะอยู่ที่การศึกษาและถ่ายทอดอักษรไทน้อยและอักษรธรรมอีสานโดยตรง โดยมี โรงเรียนสว่างวีระวงศ์ เป็นตัวอย่าง
อย่างไรก็ดี การเขียนที่สะดวกที่สุดสำหรับชาวอีสานคงเป็นการใช้อักษรไทย โดยผมเองมีความเห็นว่า น่าจะต้องอ้างอิงตัวเขียนภาษาลาวเป็นหลัก มากกว่าการถอดเสียงอ่านผ่านสำเนียงกรุงเทพฯ (ขอใช้คำว่า "สำเนียงกรุงเทพฯ" เนื่องจากเมื่อพูดถึงภาษาถิ่นแล้ว จำเป็นต้องเจาะจงถิ่น เพราะแม้ในภาคกลางเอง ก็มีสำเนียงท้องถิ่นที่แตกต่างจากกรุงเทพฯ มากมาย เช่น สำเนียงสุพรรณบุรี สำเนียงเพชรบุรี สำเนียงอยุธยา) อย่างที่พบเห็นกันทั่วไป โดยประเด็นสำคัญที่เห็นได้ชัดคือเรื่องการผันวรรณยุกต์ดังที่กล่าวไปแล้ว นอกจากเรื่องความลักลั่นของการอ่านแล้ว ยังมีปัญหาความลักลั่นของการเขียนด้วย เพราะการใส่เสียงวรรณยุกต์ลงในตัวเขียนจะขึ้นอยู่กับสำเนียงท้องถิ่นของผู้เขียน เนื่องจากภาษาอีสานมีหลายสำเนียง สำเนียงขอนแก่นก็ต่างจากสำเนียงอุบลฯ เลย หรือภูเวียง เป็นต้น










http://www.youtube.com/watch?v=IhH-fDVrOcw

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

กากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

แสดงความคิดเห็น