งานวันครู 2553

งานวันครู 16 มกราคาม 2553



ความหมาย ของคำว่าครู



ความหมาย ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ประวัติความเป็นมา

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู
ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่



หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบ
เสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์



ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม



ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่างๆได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก

วิธีจัดงาน

การพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ จะต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

สถานที่

โต๊ะหมู่บูชา โดยตั้งไว้ที่สูงบนเวทีชิดด้านหลัง ข้างหน้ามีกระถางดอกไม้และธูปเทียน และ โต๊ะ เพื่อว่างพานดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา
หนังสือ เพื่อให้ประธานเจิม โดยเอาหนังสือวางไว้บนพาน บนโต๊ะเล็กหน้าที่บูชา
ที่นั่งประธาน และ คณาจารย์ จัดไว้ข้างๆ ที่บูชา
ที่นั่งสำหรับนั่งเรียน

สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู
พานดอกไม้ ประกอบด้วยพืชชนิดต่าง ๆ เช่น หญ้าแพรก (หมายถึง การเจริญงอกงามของสติปัญญา) ดอกมะเขือ (หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม (หมายถึง เฉลียวฉลาด) จะใส่เท่าไรก็ตามให้สวยงาม พอควร
ธูปเทียน

พิธีการ
- เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคน
-ให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา
- เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล
-หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
-เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย
-ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน
-ให้ตัวแทนของแต่ละห้องนำพานไปให้คุณครูแต่ละท่าน


การจัดงานวันครู



การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

บทสวดเคารพครูอาจารย์

คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ
(รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ข้าขอประนมกระพุ่ม อภิวาทนาการ
กราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรร
สิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประครองธรรม์
ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอน
ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพร
ท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลยุบลสาร
โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
ไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญ ลุฉลาดประสาทสรรพ์
บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์ครัน
เพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล มนเทิดผดุงธรรม
ปวงข้าประดานิกรศิษ (ษ) ยะคิดระลึกคำ
ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณ
โปรดอวยพรสุพิธพรอเนก อดิเรกเพราะแรงบุญ
ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน- ทรศิษย์เสมอเทอญฯ
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

ครูสร้างคน สร้างชาติ ด้วยศาสน์ศิลป์ ทั่วแผ่นดิน ศรัทธาบูชาครู






และเนื่องในโอกาสวันครู วันที่ ๑๖ มกราคม ได้เวียนมาบรรจบ นายประหยัด ยะคะนอง ปลัดจังหวัดเพชรบุรี นายครองศักดิ์ แย้มประยูร ประธานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี พร้อมเหล่าบรรดาครูจาก วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี , วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี , วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี , วิทยาลัยการอาชีพบ้านลาด , วิทยาลัยการอาชีพเขาย้อย และวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี จำนวน ๔๕๐ คน ที่จัดการศึกษาสายอาชีพในระดับ ปวช. , ปวส. และหลักสูตรระยะสั้นหลากหลาย ได้รวมตัวกัน ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษา เพื่อร่วมน้อมรำลึกถึงพระคุณของครู – อาจารย์ทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ที่ได้อบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษา การทำมาหากิน ขนบธรรมเนียมประเพณี ให้กับคนรุ่นหลังเสมือนเป็นพ่อแม่คนที่สอง ที่ได้ประสิทธิ์ ประสาทวิชา จนสามารถประกอบอาชีพและสานต่อเจตนารมณ์

ศิษย์น้อมรำลึกพระคุณครู







แต่เดิมไทยเราเริ่มมีพิธีไหว้ครูทางช่าง นาฏศิลป์ ดนตรี ศิลปะวิทยาการต่างๆมาก่อน โดยผู้จะมาศึกษาเล่าเรียนจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาครู เป็นการฝากตัวเป็นศิษย์เป็นครูต่อกัน อีกทั้งยังเป็นสิริมงคลต่อศิษย์ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมไทยที่งดงาม และถือปฏิบัติสืบต่อมา โดยถือเอาวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่สองในเดือนมิถุนายน ของทุกปี เป็นวันไหว้ครูซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 มิถุนายน บรรดานักเรียนต่างก็นำหญ้าแพรก ข้าวตอก ดอกมะเขือ ดอกเข็มและอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความหมายมาประดิษฐ์ตกแต่ง แล้วนำไปมอบให้ครู อาจารย์ ในพิธีไหว้ครูที่ทางสถานศึกษาได้จัดขึ้น อาทิ โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี ที่นักเรียนต่างร่วมใจประดิษฐ์พานดอกไม้ธูปเทียน และนำไม้ประดับต่างๆที่มีความหมายมามอบให้ครู ซึ่งภายหลังจากจบพิธีไหว้ครูแล้วจะได้นำต้นไม้ดังกล่าวไปปลูกไว้ในบริเวณโรงเรียน เพื่อสร้างความสวยงาม เช่นเดียวกับที่โรงเรียนปริยัติรังสรรค์ ที่ได้ให้โอกาสนักเรียนกว่า 3,000 คน ได้กราบไหว้หลวงพ่อพระศรีพัชราจารย์ หลวงพ่อบุตร ผู้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นมาเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต สำหรับงานวันครูนั้นจัดขึ้นเพื่อให้ปวงศิษย์ได้น้อมรำลึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ที่สั่งสอนอบรม ให้มีความรู้ในด้านต่างๆตลอดจนสอนให้ยึดมั่นอยู่ในคุณงามความดีมีศีลธรรม

แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.thai-school.net/view_activities.php?ID=70914
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9
http://www.yupparaj.ac.th/special/meaning/meaning.htm
http://www.ssrw.ac.th/loei3/loei3_1/
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/810/11810/images/logopostcard.gif&imgrefurl=http://www.oknation.net/blog/naiman/2010/01/11/entry-2&usg=__QIj4JPhf3YmtXDL_pewPSjACbkU=&h=373&w=520&sz=97&hl=th&start=16&sig2=G_prhIYTttOff5nvIMZVeA&um=1&itbs=1&tbnid=8lAebPl96e_9rM:&tbnh=94&tbnw=131&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%2B2553%26hl%3Dth%26rlz%3D1R2MOOI_enTH363%26sa%3DN%26um%3D1&ei=UzBhS4HNOsyHkAXgq4i1DA

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น