ชนเผ่าของภาคอีสาน

ชนเผ่าประจำภาคอีสาน




เผ่าไทยในนครพนม

จังหวัดนครพนม ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ รวม ๗ เผ่า ได้แก่ ชาวผู้ไท (ภูไท) ไทยญ้อ ไทยแสก ไทยกะเลิง ไทยโส้ ไทยข่า ไทยลาว (ไทยอีสาน) แต่ละเป่าจะรวมกันเป็นกลุ่ม กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ดังนี้

๑. ชาวผู้ไท (ภูไท) ผู้พิศมัย ความสุนทรีแห่งการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองผู้มาเยือนโดยเฉพาะการจัดการบายศรีสู่ขวัญ เลี้ยง



อาหาร ขี่ช้างคู่ (ดูดอุคู่ชายหญิง) หรือเหล้าหมักแบบท้องถิ่นดื่มกัน ทั้งไหโดยใช้หลอดไม้ซางดูดน้ำเหล้าจากไห มีพิธีกรรมในรอบปีตามฮีตสิบสิง มีนาฏศิลป์การฟ้อนภูไทที่ร่ายรำลีลาที่อ่อนช้อยประกอบวงแคน ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เรณูนคร มีบางส่วนที่อยู่ที่อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอปลาปาก เผ่าผู้ไทย ชาวผู้ไทยเป็นชาวจังหวัดนครพนมเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยเขต อำเภอเรณูนคร อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอนาหว้า เดิมตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไทย แคว้นสิบสองปันนา ชาวผู้ไทย ได้อพยพจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำ โขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ซึ่งตรงกับสมัยราชการที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตามตำนานของชาวผู้ไทยเรณูนคร กล่าวไว้ในพงศาวดารล้านช้าง ว่าที่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูหรือแถน มีปู่เจ้าลางเซิง ขุนเค็ก ขุนคาง ปกครองชาวผู้ไทย เมือเกิดทุกภิกขภัยพญากา หัวหน้าผู้ไทยคนหนึ่งได้เกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง จึงชัดผู้ไทยจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำแขวง สุวรรณเขตปัจจุบัน ที่เมืองแห่งนี้มีชาวข่าอาศัยอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดพิพาทกันขึ้นต่อมาผู้ไทยถูกชาวข่าและจีนฮ่อบุกรุกทำลายเผ่าบ้านเรือน และจับเอาพญาเตโชหัวหน้าชาวผู้ไทยไปเมืองจีน พญาเตโชได้สั่งลูกหลานว่า อย่าอยู่เมืองวังเลยให้อพยพไปอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเสียเถิด
ชาวผู้ไทยโดยการนำมาของท้าวเพชร ท้าวสาย จึงพาชาวผู้ไทยจากเมืองวัง เข้ามาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำขวา โดยการต่อเรือและแพล่องมาตามแม่น้ำโขง ข้ามมาขึ้นฝั่งที่บ้านพระกลางท่าเขตอำเภอธาตุพนม พระภิกษุทาเจ้าสำนักธาตุพนมเวลานั้นได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่ ดงหวายสายบ่อแก ชาวผู้ไทยจึงอพยพกันต่อไปและตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า เมืองเว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสายเป็น พระแก้วโกมล เจ้าเมืองคนแรกและยกเป็นเมืองเรณูนครขึ้นกับเมืองนครพนม ปัจจุบันคือ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพรม
เปรียบเทียบภาษา
หมวดเครื่องใช้
เครื่องเขียนแบบเรียน
ไทยกลาง ไทยอีสาน ผู้ไทย
ดินสอ สอ สอ
ดินสอสี สอสี สอสี
ชอล์ก ช็อก ช็อก
ไม้บรรทัด ไม้บัน ทัด ไม้บันทัด
ยางลบ ยางลบ ยางลบ
สมุด สะมุด สะมุด
หนังสือ หนังสือ หนั่งสือ
กระดานดำ กะดานดำ กะด๋านด๋ำ
แปลงลบกระดาน แปงลบกระดาน แปลงลบกะด๋าน
กระดาษ กะดาษ กะด๋าษ
ปากกา ปากกา ปากกา
น้ำหมึก น่ำหมึก น่ำมึก
ชั้น ชั่น ชั้น


๒. ไทยญ้อ เป็นกลุ่มไทย-ลาว อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมาจากเมืองหงสา แขวงไชยบุรีประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปากน้ำสงคราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ ส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง และบ้านขว้างคี ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ ซึ่งได้ชื่อว่า "หมู่บ้านคอมโดมีเนียมผี"
เผ่าไทยญ้อ (ญ้อ)
ประวัติความเป็นมาของชาวไทยญ้อ ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาวหรือจังหวัดลาวช้างของไทยสมัยหนึ่ง ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชบุรี ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยราชการที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๑ ต่อมาเมื่อเกิดกฎเจ้าอนุเวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๙) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้านไปแล้วให้ไปตั้งเมืองอยู่ ณ เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อยู่ในเขตแขวงคำม่วนประเทศลาว) อยู่ระยะหนึ่งต่อมาได้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ คือ บริเวณท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปั๗๗บัน
นิสัยใจคอของไทยญ้อส่วนมากที่สุดคือ ซื่อสัตย์ สุจริต รักสงบ มีความสามัคีมั่น ไม่ว่าจะมีอะไรเช่นการทำบุญ การปลูกบ้าน ทำนาจะว่านหรือวานกัน (นาว่านคือ การลงแขก ทำนา ทำงาน)
การแต่กายชุดรำไทยญ้อ
ชาย สวมเสื้อคอพวงมาลัยสีเขียวสด ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพับครึ่งกลาง พาดไหล่ ซ้ายและขวา ปล่อยชายสองข้างไปด้านหลังให้ชายเท่ากัน นุ่งผ้าโจงกระเบนสีน้ำเงินเข้ม ใช้สไบไหมสีแดงคาดเอว ปล่อยชายข้างซ้ายด้านหน้า เครื่องประดับสร้อยเงิน ห้อนพระ ใบหูทัดดอก ดาวเรืองด้านซ้าย
หญิง สวมเสื่อแขนกระบอกสีชมพู (สีบานเย็น) คอกลมขยิบดำ หรือน้ำเงินเข้ม นุ่งผ้าถุงไหมสีน้ำเงินมีเชิง (ตีนจก) เข็มขัดลายชิดคาดเอว ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพาดไหล่ด้านซ้ายแบบเฉียงปล่อยชายยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้ชายเท่ากัน เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยข้อมือเครื่องเงิน ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้สด หรือดอกไม้ประดิษฐ์ ปัจจุบันชาวไทยญ้อ
๘๐ % อยู่ที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า
คำศัพท์ภาษาไทยญ้อ (ญ้อ)
คำศัพท์ คำอ่าน ความหมาย
กิด กิด สั้น,น้อย
กะโป๊ กะ โป๊ กะลา
กะบวน กะ-บวน ดี, เข้าเท่า
กะปอม กะ-ปอม กิ้งก่า
กะเปา กะ-เปา เป๋า
กะดัดกะด้อ กะ-ดัด-กะ-ด้อ เกินไป
เกิบ เกิบ รองเท้า
ก้องแขน ก้อง-แขน กำลัยมือ
กะเทิน กะ-เทิน ครึ่งๆ , กลางๆ
กะแดะ กะ-แดะ แรด-ดัดจริต
เก้อ เก้อ ใกล้
กะโพด กะ-โพด เกินไป
กั้งคันฮ่ม กั้ง-คัน-ฮ่ม กางร่ม
กล้วยเหิ่ม กล้วย-เหิ่ม กล้วยห่าม
กับแก๊ กับ-แก๊ ตุ๊กแก
กะหน่อง กะ-หน่อง ส้นเท้า
ก่วย ก่วย ปัด
เกิบตีนยอง เกิบตีนยอง เหม็นสาบ
กองเลง กอง-เลง กลองสองหน้าที่ใช้ในงาน
ประเพณีให้เกิดความสนุก
กะปาง กะ-ปาง รางอาหารสัตว์


๓. ไทยแสก มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองแสก เขตเมืองคำเกิด ติดชายแดนญวน ๒๐ กิโลเมตร อพยพมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ตอนที่ประเทศไทยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ สมัยราชการที่ ๓ ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม และบางส่วนอยู่ที่อำเภอนาหว้า มีประเพณีที่สำคัญคือ การเล่นแสกเต้นสาก
เผ่าไทแสก แสก เป็นชนกลุ่มน้อยภาคอีสานเผ่าหนึ่งในจำนวนหลายๆ เผ่าที่มีอยู่ในประเทศไทย เดิมชาวแสกมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองรองขึ้นกับกรุงเว้ อยู่ทางตอนกลางของประเทศเวียดนามและจีน ชนเผ่าแสกเป็นชนเผ่าที่มีความอุสาหะบากบั่น ยึดมั่นในความสามัคคี เมื่อเห็นภูมิลำเนาเดิมไม่เหมาะสมจึงได้รวมสมัครพรรคพวกอพยพหาที่อยู่ไหม่ โดยอพยพลงมาจาลำน้ำดขงแล้วมาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวอยู่ละหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศลาว โดยมี ท้าว กายซุ และท้าวกายชา เป็นหัวหน้าในการอพยพ ต่อมาในสมัยสมเด็ดพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยากษัตริย์ของไทยชาวแสก ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานมาอยู่ที่ป่าหายโศก การอพยพของชาวแสกแต่ละครั้งนั้น ไม่ได้ถูกบังครับหรือถูกข่มแหงแต่อยู่ใด เมื่อชาวแสกเห็นว่าบริเวณป่าหายโศก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรต่างๆ จึงได้อพยพกันมาประกอบอาชีพอยู่แห่งนี้เรื่อยมา
จนถึงสมัยพระสุนทรเป็นเจ้าเมืองได้พิจารณาเห็นว่าชาวแสกมีความสามารถและความเข้มแข็ง สามารถปกครองตนเองได้จึงได้ยกฐานะของชาวแสกขึ้นเป็นเมืองโดยได้เปลี่ยนชื่อใหม่จากป่าหายโศก เป็นเมืองอาจสามารถ หรือบ้านอาจสามารถ จนทุกวันนี้
เมื่อได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแล้ว ชาวแสกต่างพากันโยกย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินในถิ่นต่าง อีกก็มี เช่น บ้านไผ่ล้อม (ตำบลอาจสามารถ) บ้านดงสมอ บ้านบะหว้า (อำเภอนาหว้า) ในพื้นที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และที่บ้านโพธิ์คำ (ประเทศลาว) ชาวแสกเหล่านี้ ล้วนเป็นเชื้อสายและเป็นญาติพี่น้องกับชาวแสกที่บ้านอาจสามารถ
จากคำบอกกล่าวของชาวแสกทราบว่า ปัจจุบันยังมีเผ่าแสกที่อยู่แคว้นสิบสองปันนาที่ประเทศจีน และที่สมุทรปราการ ประเทศไทยอีกด้วย
คำศัพท์ภาษาไทยแสก
ภาษาไทยกลาง ภาษาไทยอีสาน ภาษาไทยแสก
ช้าง ซ่าง ซาง
ม้า ม่า มา
แพะ แพะ แพะ
เป็ด เป๋ด ปึ๊ด
ปลา ปา ปร๋า
แมว แม่ว แมว
หมู หมู หมู
หมี หมี หมี
หนู หนู หนู
วัว งั่ว บอ
หอย หอย โอก
ห่าน ฮ่าน ห่าน
ผีเสื้อ แมงกะเบี้ย บุ่งบ่า
เสือ เสีย,เสือ กุ๊ก
สิงโต สิงโต สิงโต
ยีราฟ ยีราฟ ยีราฟ
สุนัข หมา มา
จิ้งจก ขี้เกี้ยม ยะราน
ตุ๊กแก กั๊บแก้ กั๊บแก้
ปู ปู เบษ
เต่า เต้า รอ
เขียด เขียด แทร่ (ควบ)
อึ่ง อึง อึ่ง
ปลาดุก ปาดุก ปร่าร้อก
ปลาช่อน ปาค่อ ปร่าแทร่
ปลาซิว ปาซิว ปร๋าชิว

๔. ไทยกะเลิง มีภาษาพูดของเผ่าเช่นเดียวกับโส้ อพยพมาจากแขวงสุวรรณเขต เขตคำม่วน ไทยกะเลิง ส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอนาแก และที่ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน โดยมีศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเลิง ที่โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา อำเภอนาแก ในวันเปิดศูนย์ฯ "นายนาวิน ขันธหิริญ" ได้เป็นประธานเปิดงานดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีบางส่วนได้ตั้งบ้านเรือยอยู่ที่ อำเภอโพนสวรรค์ อาศัยปะปนกับพวกข่าและโส้ และที่ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม ก็มีจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่นั่น

ศูนย์วัฒนธรรมไทยกะเลิงแห่งนี้ ตั้งขึ้นตามนโยบายฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายนาวิน ขันธหิรัญ ดังนั้น อำเภอนาแกโดยการนำของนายยงยุทธ นุกิจรังสรรค์ นายอำเภอนาแก จึงได้ร่วมประสานกับ อบต. โรงเรียน จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น โดยนำเอาเอกลักษณ์แท้ ๆ ของไทยกะเลิง ส่งเสริมและพัฒนาให้มีสีสันและงดงามอลังการ ศูนย์วัฒนธรรม "ไทยกะเลิง" แห่งนี้ได้ปลุกเร้าให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของผลผลิตอันเกิดจากกระบวนความคิดของบรรพบุรุษที่แยบยลและลึกซึ้ง

ของดีอย่างนี้ "คนรุ่นใหม่" ควรที่จะศึกษาและอนุรักษ์ไว้ มิให้เสื่อมสลายตามกาลเวลาไปจากแผ่นดินไทยของเรา
เผ่าไทยกะเลิง
กะเลิงเป็นชาวกลุ่มน้อยที่เป็นชาติพันธุ์ ทางภาษากลุ่มหนึ่ง เช่นเดียวกับชนกลุ่มญ้อ โส้ แสก ผู้ไทยและเวียดนาม ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม กะเลิงมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ชนกลุ่มกะเลิงได้อพยพมาตั้งแหล่งอยู่ในประเมทไทยเมื่อประมาร ๑๐๐ ปีเศษ ตั้งแต่มีการปราบเจ้าอนุวงศ์ในราชกาลที่ ๓ และมีการอพยพครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเกิดศึกกบฏฮ่อในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ปัจจุบันมีชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงในประเทศไทย ที่จังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร
นครพนมมีกลุ่มอำเภอเมืองกลุ่มกะเลิงที่ บ้านกุรุคุ หนองหญ้าไซ นาปง ไทสามัคคี ตำบลกุรุคุ บ้านนาโพธิ์ บ้านผึ้ง วังกะแส นามน เทพนม ดงสว่าง บ้านผึ้ง บ้านขามเฒ่า ตำบลขามเฒ่า บ้านดงขวาง บ้านคำเตย หัวโพน ตำบลนาทรายบ้านเวินพระบาท บ้านยางนกเหาะ บ้านนาโสกใต้ บ้านนาโสกเหนือ บ้านม่วง อำเภอนาแก บ้านโพนสว่าง บ้านโพนแดง ตำบลนาแก บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอธาตุพนม บ้านนาถ่อน ตำบลนาถ่อน บ้านดอนนาหงส์ อำเภอเรณูนครตำบลเรณูนคร ตำบลนางาม ตำบลนายอ อำเภอปลาปาก บ้านปลาปาก ตำบลปลาปาก บ้านโนนทัน บ้านผักอีตู่ บ้านนองกกคูณบ้านนาสะเดา บ้านโนนทันกลาง ตำบลหนองฮี บ้านนาเชือก ตำบลหนองเพาใหญ่ บ้านวังม่วง ตำบลมหาชัย
วิธีการดำเนินชีวิตของชาวกะเลิง เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดถือฮึดสิบสอง ครองสิบสี่ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และมีคติความเชื่อถือในเรื่องผี นับถือผีเหลักหลักบ้าน วิญญาณบรรพบุรุษ ผีตาแหก ผีป่า ผีเขา ประเพณีที่ชาวกะเลิง บ้านกุรุคุ จัดทำเป็นงานบุญยิ่งใหญ่ คือ บุญเผวส (เทศน์มหาชาติ) ซึ่ง3ปี จะจัดให้มีขึ้นครั้งหนึ่ง เพราะสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายมากนอกจากนี้ก็มีประเพณีเลี้ยงผีซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
สมัยก่อน นิยมสักเป็นรูปนกที่แก้มดังผญาว่า สักนกน้อยงอย แก้มตอดขี้ตาสักนกน้อยงอยแก้มจั่งงาม ปัจจุบันยังพบชายชาวกะเลิง สักลายที่ขา และตัวบางแต่ก็มีการสักรูปนกที่แก้ม ชายชาวกะเลิงในปัจจุบันแต่งกายเหมือนชายชาวอิสารทั่วไป หญิงชาวกะเลิงในสมัยก่อนแต่งกายโดยนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่มีเชิง ไม่สวมเสื้อ ใช้แพเบี่ยงโต่งในเวลามีงานปกตินิยมเปลือยหน้าอกซึ่งเรียกว่า ปละนม ไว้ผมยาว และผมมวยสวมกำไลข้อมือ ข้อเท้า และตุ้มหูเงิน นิยมทัดดอกไม้ ประเทืองผมด้วยขมิ้น ทาหน้าด้วยหัวกลอยและข้าวสาร บางคนนิยมเอสขี่มาถูฟันให้ดำงาม สวมรองเท้าที่ประดิษฐ์เองมาวัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ หนังสัตว์ กาบหมาก
ภาษากะเลิงจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท เช่นเดียวกับภาผู้ไทย ภาษากะเลิงไม่มี ฟ ใช้ พ แทน เช่น ไพพ้า (ไฟฟ้า) ไม่มี ฝ ใช้ ผ แทน เช่น ผาด (ฝาด) ไม่มี ร ใช้ ล แทน ฮ แทน เช่น ลำ (รำ) ฮกเฮื้อ (รกเรื้อ) ไท่ที ช ใช้ซ แทน เช่น ซม (ชม) มีอักษรควบใช้เป็นบางคำ เช่น ขว้าม (ข้าม) สวาบ (สวบ) กินอย่างมูมมาม เช่น หมูสวาทฮำทวาย (ทวย)
ภาพสะท้อนที่แสดงออกถึงค่านิยม คติความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิต และศักยภาพของชาวกะเลิงบ้านกุรุคุ จะเห็นได้จากผญา เพลงพื้นเมือง นิทานพื้นบ้าน

๕. ไทยโส้ ถิ่นเดิมอยู่ที่เมืองมหาชัย ก่องแก้ว และแขวงเมืองคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพเข้ามาอยู่ในภาคอีสาน สมัยรัชกาลที่ ๓ หลังปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ เป็นเผ่าที่มีความเชื่อ และความศรัทธาในบรรพบุรุษ มีพิธีกรรมที่สำคัญคือ พิธีโส้ทั่งบั้ง อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านพะทาย หนองเทา และบางส่วนที่อำเภอศรีสงคราม และอำเภอโพนสวรรค์
เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่
ชาวไทยโส้ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เป็นชาวไทยตระกูลเดียวกันกับพวกบรู หรือพวกไทยข่า นักมนุษย์วิทยาถือว่าพวกไทยโซ่เป็นชาติพันธุ์ของมนุษย์ ในกลุ่มมองโกเลียด์ มีภาษาขนบธรรมเนียบประเพณีแตกต่างไปจากพวกไทยข่า แต่ภาษานั้นถือว่า อยู่ในตะกูลออสโตรอาเซียติดสาขามอญเขมรหรือตะตู ซึ้งสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดนได้รวบรวมไว้บดความเรื่อภาษาตระกูลไทย
พวกกะโซ่ซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยราชการที่ ๓ ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองหลายเมือง คือ เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเซียงฮ่ม ในแขวงสุวรรณเขต ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช ขึ้นกับเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวบัว แห่งเมืองเชียงฮ่ม เป็นพระทัยประเทศ เป็นเจ้าเมืองเป็นคนแรก ปัจจุบันเป็นพื้นที่รามราช ตำบลพระทาย ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน ตำบลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมเป็นหมู่บ้านชาวไทยโส้
นอกจากนั้นยังมีชาวไทยโส้อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมอีหลายหมู่บ้าน เช่น ตำบลโคกสูง และบ้านวังตามัว ในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม
ศิลปะ วัฒนธรรมกะโส้ซึ่งรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื่อชาติ ที่เด่นชัดก็คือโซ่ทั่งบั้ง หรือภาษากะโซ่เรียกว่า สะลา เป็นพีการในการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขวัญและรักษาคนป่วย กับพิธี ซางกระมูด ในงานศพ
๑. พิธีกรรม โซ่ทั่งบั้ง เป็นภาษาชาวไทยอีสานเรียกชื่อพิธีกรรมของชาวกะโซ่คำว่าโซ่ หมายถึง พวกกะโซ่ คำว่าทั่ง แปลว่ากระทุ้ง หรือกระแทก คำว่าบั้ง หมายถึงบ้องหรือกระบอกไม้ไผ่ โซ่ทั่งบั้ง ก็คือ การใช้บอกไม่ไผ่ยาวประมาณ ๓ ปล้อง กระทุ้งดินให้เป็นจังหวะและมีผู้ร่ายรำและร้องรำไปตามจังหวะในพิธีกรรมของชาวกระโซ่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งสมเด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อสมเด็จถึงเมืองกุสุมาลย์ (อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้ทรงบันทึกการแสดงโซ่ ทั่งบั้งหรือสะลาไว้ว่า
สลามีหม้อดินตั้งกลางแล้วมีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสะพายหน้าไม้ และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่าพระเนาะคนหนึ่งคนถือไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุงดิน รวมแปดคน เดินร้องรำเป็นวนเวียนไปมา พอพักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป...
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการปัจจุบันได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรจังหวัด นครพนม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งจังหวัดมุกดาหารยังรวมอยู่ในจังหวัดนครพนม ชาวไทยกะโซ่
ได้แสดงโส้ปั้งหรือสะลาทอดพระเนตรพร้อมกับร้องคำถวายพระพรเป็นภาษากะโซ่ว่า เซินตะดกละแสง เซินแต่แซงมะนาง เซินยอนางเอย ดรุ๊กอีตู จูเยก ยางเอย ดรุ๊กอีตูจูเยอวายเอย
ไฮพัดกระกมติตอนจิรอ ไฮพัดระพอดิตรอนอิตูด ตะรงยางเอย
ระกบเจ้ากวงมานะ วอนเบาแบนเราะ เนออาญาเฮาเอย
สะโอนเนาต๊กยะ วอนเบาแบนเราะ ดูกรองวไดเดอกะนางไฮเอย
คำแปล ขอเชิญสิ่งศักดิ์สิทธ์ขุนเขา ขอเชิญแสงตะวันอันแรงกล้า เชิญเถิดขอให้สิ่งศักดิ์สิทธ์ จงมาให้ขวัญทั้งหลายจงมาร่วมกัน ณ ที่นี้ สิ่งศักดิ์ทั้งหลายเอย ขอให้มาคุ้มครองสองเจ้าเหนือหัว ขอให้พระองค์อยู่ดีมีสุขเถิดพระเจ้า
เราเอย ขอให้อย่ามีทุกข์และความเดือดร้อน ขอให้พระองค์อยู่ดีมีสุขอยู่คู่เมืองไทย ปกป้องคุ้มครองพวกทั้งหลายตลอดไปเทอญ
2. พิธีซางกระมด เป็นพิธีกรรมก่อนนำศพลงจากเรือน คำว่า ซาง หมายถึง การกระทำหรือการจัดระเบียบ กระมด แปลว่า ผี ซางกระมด หมายถึง การจัดพิธีเกี่ยวกับคนตายชาวกระโซ่ถือว่า เมื่อคนตายไปแล้วจะเป็นผีดิบ จึงต้องกระทำพีซางกระมดเสียก่อน เพื่อให้ผีดิบและวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข มิฉะนั้นอาจทำให้ญาติพี่น้องเกิดเจ็บป่วยขึ้นได้

อุปกรณ์ในพิธีซางกระมดประกอบด้วย ขันโต(ขันกระหย่อง) สานด้วยไม้ไผ่สองใบ เป็นภาชนะใส่อุปกรณ์ต่างๆ
มีไม้ไผ่สานเป็นรูปจักจั่น 4 ตัว แทนวิญญาณของผู้ตาย นอกจากนี้ยังมีพานสำหรับยกครู (คาย) ประกอบด้วยขันธ์ 5 เทียน
5 คู่ ดอกไม้สีเขียว เช่น ดอกลั่นทม 5คู่ เงินเหรียญ 12 บาท ไข่ดิบ 1 ฟอง ดาบโบราณ 1 เล่ม ขันหมาก 1 ขัน
มีดอกไม้อยู่ในขันหมาก 1 คู่ พร้อมด้วยบุหรี่ และเทียนสำหรับทำพีอีกหนึ่งเล่ม ล่ามหรือหมอผีจะเป็นผู้กระทำพิธีและสอบถามวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข เมื่อทราบความต้องการของวิญญาณแล้วญาติก็จะจัดสิ่งของไว้บวงสรวงวิญญาณ

3.พิธีเหยา ในการรักษาคนป่วยหรือเรียกขวัญคล้ายๆ กับพิธีของชาวไทยอีสานทั่วไป เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหรือการเรียกขวัญ โดยหมอผีจะทำหน้าที่เป็นล่ามสอบถามวิญญาณของบรรพบุรุษ
ชาวไทยกะโซ่มีผิวกายที่ดำคล้ำเช่นเดียวกับพวกข่า สมเด็จกลมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงการแต่กายของชาวกะโซ่ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ ต่างๆ ภาค ๔ เมื่อเสด็จภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ไว้ว่า ....ผู้หญิงไว้ผมสูงแต่งตัวนุ่งซิ่นสวมเสื่อแขนกระบอกย้อมครามห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่กายอย่างคนเมือง แต่เดิมนุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหน้า ชายหนึ่ง


๖. ไทยข่า เป็นชาวพื้นเมืองเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยปะปนอยู่กับไทยกะเลิง ไทยโซ่ (โส้) และไทยลาว ซึ่งปัจจุบันนี้ถูกกลืนเกือบกะหมดแล้ว เดิมไทยข่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวันและแขวงอัตปือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพมายังประเทศไทยในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวไทยข่าที่พอจะมีหลักฐานบ้างอาศัยปะปนกับไทยโซ่ (โส้) ในจังหวัดนครพนม เช่น หมู่บ้านคำเตย ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ไทยข่า
ไทยข่าเป็นชาวไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังพอมีหลงเหลือบ้างในพื้นที่จังหวัดนครพนมแต่ไม่ปรากฏให้เป็นเป็นชุมชนชัดเจนจะมีเพียงครอบครัวที่แทรกอยู่ในชุมชนอยู่ในพื้นที่อำเภอนาแกตามหมู่บ้านแถบเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นรอยต่อกับอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอดงหลวง จะมีชาวข่าอาศัยอยู่มาก ในอดีดจังหวัดมุกดาหารเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่ขึ้นต่อจังหวัดนครพนมรวมถึงอำเภอดงหลวงด้วย ปัจจุบันอำเภอมุกดาหารได้เลื่อนเป็นจังหวัด และอำเภอดงหลงก็ไปขึ้นเป็นสังกัดมุกดาหารด้วย ชุมชนไทยข่าในจังหวัดนครพนมจึงไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด จึงมีเพียงกระจัดกระจายเป็นบางครอบครัวในชุมชนต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว
ไทยข่ามีถิ่นดั้งเดิมอยู่แขวงสุวรรณเขตสาละวัน และอัตปือ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยราชการที่ ๓ เป็นต้นมา
นักมนุษย์วิทยาถือว่า ชาวไทยข่าเป็นเผ่าดั้งเดิมในแถบกลุ่มแม่น้ำโขง สืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลง ภาษาของชาวไทยข่าเป็นภาษาในตระกูลออสโตรอาเชียติก ในสขามอญเขมร ชาวไทยข่ามิได้เรียกตัวเองว่าชาวไทยข่า แต่จะเรียกตัวเองว่าพวกบรู
คำว่า ข่า อาจมาจาก ข้าทาส ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียง ข่าทาส เนื่องจากในสมัยราชการที่ ๕ มีการจัดพวกบรูมาเป็นข้าทาสรับใช้กันมาก จึงเรียกกันมาว่าไทยข่า
จารีตประเพณีของชาวข่าที่น่าศึกษา
การสู่ขอฝ่ายชายมีล่าม ๔ คน (ชาย ๒ คน หญิง ๒ คน) เทียน ๔ เล่ม และเงินหนัก ๕ บาท การแต่งงานมีเหล้าอุ ๒ ไห ไก่ ๒ ตัว ไข่ ๘ ฟอง เงินหนักสองบาท หมูหนึ่งตัว และกำลัยเงิน ๑ คู่
การกระทำผิดจารีตประเพณี (ผิดผี) เช่น ห้ามลูกสะใภ้เข้าห้องนอนพ่อผัว ห้ามลูกสะใภ้รับของจากพ่อผัว ห้ามลูกเขยเข้าออกพายในบ้านจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง หรือลูกเขยพกมีดพร้า สวมหมวกขึ้นบ้านพ่อตา หรือกินข้าวรวมกับแม่ยาย หรือรับของจากแม่ยาย การผิดผีหรือผิดจารีตประเพณีเช่นนี้ลูกเขยจะต้องใช้เงิน ๕ บาท หมู ๑ ตัว ดอกไม้ทูปเทียน ๒ คู่ หากเป็นลูกสะใภ้ ต้องใช้ผ้าขาวม้า ๑ ผืน ผ้าซิ่น ๑ ผืน และแก้การผิดผีโดยใช้บุหรี่ ซึ่งม้วนด้วยใบตอง ๒ ม้วน หมากพลู ๒ คำ นำไป ขอคารวะต่อผีของบรรพบุรุษที่มุมเรือนด้านทิศตะวันออกหรือที่เตาไฟ

๗. ไทยลาว (ไทยอีสาน) เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสานป เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไป


ไทยกุลา

คำว่า "กุลา" มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่าคนต่างถิ่น กุลาคือพวกเงี้ยวหรือพวกรองซู่ใน รัฐไทยใหญ่ของพม่า พวกเงี้ยวหรือตองซู่เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานตั้ง ชื่อให้ใหม่ว่า "กุลา" คือคนต่างถิ่น กุลาชอบเดินทางมาค้าขายในหัวเมืองภาคอีสานแถบลุ่มแม่น้ำโขง ในสมัยโบราณเป็นจำนวนมากจนมีชื่อเป็นอนุสรณ์ว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้"



ชาวกุลาชอบเร่ร่อนค้าขายโดยนำ เอาผ้าแพรพรรณหรือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง, มีดดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสานโดยเฉพาะแถบลุ่มแม่น้ำโขงแล้วซื้อวัวควายต้อนกลับไปพม่า กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากและแต่งงานกับชาวผู้ไทยหรือชาวอีสาน เช่นที่ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม, อำเภอเรณูนครหลายหมู่บ้านและที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมา กุลาเหล่านี้มีสัญชาติและอยู่ในบังคับของอังกฤษเมื่อมีคดีความเกิดขึ้นต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้ง

ผู้ชายกุลามีรูปร่างสูงใหญ่ ชอบนุ่งโสร่งหรือไม่ก็นุ่งกางเกงขายาวปลายบานและโพกศีรษะทรงสูง เมื่อ พ.ศ.2446 ชาวกุลาหรือเงี้ยวมาค้าขายฝิ่นอยู่ในเขตเมืองหนองสูงเป็นจำนวนมากโดยได้แต่ง งานกับผู้หญิงชาวผู้ไทยและตั้งรกรากอยู่ที่บ้านขุมขี้ยางในปัจจุบันต่อมาพวกกุลาซึ่งถือสัญชาติอังกฤษ ไม่เคารพต่อกฏหมายของบ้านเมืองได้ก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่าเขตเมืองหนองสูงซึ่งขึ้น กับเมืองมุกดาหาร จนทางเมืองมุกดาหารต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาสมทบเพื่อช่วยปราบปราม ปัจจุบันทุ่งหมากเฒ่าและบ้านขุมขี้ยางตัดโอนไปขึ้นกับเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์แล้ว แต่ก็ยังมีลูกหลานเชื้อสายของชาวกุลาอยู่ในท้องที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหารอีกเป็นจำนวนมาก





แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.thatphanom.com/pe_002.php
http://www.thatphanom.com/pe_008.php
http://www.google.co.th/search?hl=th&source=hp&q=+%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%AD&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2+Google&meta=&rlz=1R2AMSA_en&aq=null&oq=
http://www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=584&Itemid=56

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น