ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ e-commerce

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ e-commerce






e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

BI=Business Intelligence:
การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC=E-Commerce:
เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM=Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM=Supply Chain Management:
การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP=Enterprise Resource Planning:
กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน


E-Commerce คืออะไร

E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)

จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน
โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business


E-Commerce นิยามและความหมาย


Source - Department of Industrial Promotion (Th/Eng)
Wednesday, March 12, 2003 11:29
28176 XTHAI XECON XGOV XITBUS XLOCAL V%GOVL P%DIP





ปัจจุบันคงจะไม่มีใครบอกว่าไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ E-Commerce มาเลยบางท่านที่เคยได้ยินแต่ไม่ได้สนใจถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว อันที่จริง ท่านผู้รู้ได้กล่าวว่า ในอนาคต E-Commerce จะเข้ามาพลิกโฉมทางการค้าและเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา และห้างสรรพสินค้าอาจจะไม่มีความจำเป็นแล้วเพราะต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่จะหันมาใช้ห้างสรรพสินค้า E-Commerce ซึ่งกำลังเป็นที่ตื่นตัวกันอย่างมากในอเมริกา ดังนั้น เมื่อ E-Commerce มีบทบาทมากขนาดนี้ เราจะมองข้ามเสียไม่ได้
ความหมายของ E-Commerce
E-Commerce ย่อมาจาก Electronic Commerce หรือที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจการค้าผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยมีระบบอินเตอร์เน็ตเป็นสือกลางในการเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถทำการค้ากันได้



ประเภท และรูปแบบ



E-Commerce สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ ที่รู้จักกันทั่วไป มี 3 ประเภท คือ
B - To - C ย่อมาจาก Business to Business เป็นการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจด้วยกันเอง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C
B - To -C ย่อมาจาก Business to Consumer เป็นการขายปลีกให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ส่วนใดของโลกชำระเงินผ่านระบบบัตรเครดิต การขายแบบนี้จะเข้ามาแทนที่การขายแบบ Direct Mail
C - To - C ย่อมาจาก Consumer to Consumer เป็นการขายปลีกระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือผู้ใช้อินเตอร์เน็ตด้วยกัน เช่น การขายซอฟต์แวร์ที่ตนพัฒนาขึ้นมา หรือการประมูลของที่ใช้แล้ว



ประโยชน์จาก E-Commerce
สินค้าที่ต้องการจำหน่ายผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะเป็นสินค้าที่รู้จักของผู้ซื้ออยู่แล้ว หรือสินค้าขายปลีกทั่วๆ ไป ที่ลูกค้าเลือกซื้อได้จากทุกมุมโลก เพียงแต่คลิกเม้าท์เท่านั้น เช่น ผู้จำหน่ายหนังสือ ของเล่นอุปกรณ์ไฟฟ้า สินค้าที่สะดวกในการขนส่ง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ สินค้าส่งออกที่มีจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว สินค้าที่มีเอกลักษณ์ของไทย เช่นผ้าไหม สินค้าหัตถกรรมเซรามิค เครื่องประดับ ซึ่งใช้ E-Commerce จะประหยัดกว่าการทำธุรกิจแบบเดิม ที่ต้องส่งแคตาล๊อกไปให้ลูกค้าหรือไปเช่าบู๊ทในงานแสดงสินค้าในประเทศต่างค่าใช้จ่ายสูงมาก ถ้าสร้างเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ทำเป็นบูทถาวรที่ลูกค้าเข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสินค้าที่สามารถส่งมอบทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น เพลง วิดีโอเกม ซีดีรอม เมื่อลูกค้าชำระเงินเรียบร้อยก็กาวน์โหลดสินค้าเหล่านั้นเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของตัวเองที่เชื่อมต่อกันกับอินเตอร์เน็ตหรือธุรกิจที่มีบริการขนส่งสินค้าของตนเองอยู่แล้ว เช่น ร้านเบเกอรี่ ร้านดอกไม้ ซึ่งลูกค้าอยู่ต่างประเทศสามารถส่งสินค้าถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ หรือ เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น จองตั๋วเรือบิน จองแพ็คเกจทัวร์ จองโรงแรม โดยผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น



เขาเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างไร
1. วิเคราะห์ดูว่าเรามีสินค้าอะไร ใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา ซึ่งจะต้องเป็นผู้ใข้อินเตอร์เน็ตและเราจะเลือกทำธุรกิจ E-Commerce ในรูปแบบใดใน 3 แบบข้างต้น เพราะถ้าสินค้าที่เราขายไม่ใช่กลุ่มใช้อินเตอร์เน็ตก็หมายถึงตลาดไม่เหมาะสมกับกลุ่มนอกจากนั้นต้องวิเคราะห์คู่แข่งขัน ซึ่งหาข้อมูลคู่แข่งขันได้จาก Web Site ของคู่แข่ง แล้วเปิดเข้าไปดูว่าเขาจัดรูปแบบหน้าร้าน ตั้งราคาสินค้า การจัดส่งสินค้าการส่งเสริมการขาย ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งเรานำมาปรับใช้กับธุรกิจของเรา
2. โฆษณาเผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยจัดทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ แคตาล๊อค อธิบายรายละเอียดสินค้าพร้อมคุณสมบัติของสินค้า บริการขนส่งในการซื้อขาย นโยบายการคืนสินค้าและคืนเงิน สกุลเงินที่ใช้ หรือลง ทะเบียนไว้ในระบบค้นหากับเว็บไซต์ทีมีชื่อเสียงเปิดให้บริการอยู่เป็นค่าใช้จ่ายที่ถูก และ สามารถแสดงภาพ 3 มิติ เคลื่อนไหวได้ มีบรรยายประกอบ เปิดให้ชมได้ 24 ชั่วโมง
ถ้าหากมีสินค้าหลายชนิด และประสบความสำเร็จในการขายบ้างแล้ว ก็อาจทำร้านค้าทางอินเตอร์เน็ต ด้วยการสร้าง Web Site ของตนเองโดยดำเนินการต่อไปนี้
1. จดทะเบียนชื่อร้าน หรือที่เรียกว่า Domain Name ซึ่งเท่ากับเสมือนยี่ห้อสินค้าของเราและสร้าง Web Site
2. เช่าพื้นที่เว็บไซต์โดยต้องคิดว่าถ้าขายออกต่างประเทศก็เช่าต่างประเทศ แต่ถ้าขายในประเทศก็เช่าในไทย
3. ติดตั้งระบบป้องกันข้อมูล และติดต่อธนาคารขอรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบชำระเงิน
4. โฆษณา Web Site ให้ลูกค้ารู้จัก โดยโฆษณาตาม Banner ของ Web Site ต่างๆ หรือลงทะเบียนไว้ในระบบค้นหาข้อมูลกับ Web Site ที่มีชื่อเสียงเช่น Yahoo, Altavista ฯลฯ
5. เตรียมติดต่อบริษัทขนส่งเพื่อส่งมอบสินค้า
6. ศึกษาแบบชำระเงิน ซึ่งอาจมีอยู่หลายวิธีดังนี้ ผ่านธนาคาร เช่น เปิด L/C สำหรับการส่งออกหรือชำระด้วยบัตรเครดิต ก็ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงิน โดยหารือกับธนาคารต่างๆ
* ชำระเงินต่างระบบธนาคาร เช่น เปิด L/C สำหรับส่งออก
* ชำระด้วยบัตรเครดิต ก็ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยในการชำระเงิน โดยต้องหารือกับธนาคาร
* การโอนเงินเข้าบัญชี ซึ่งใช้กับผู้ซื้อของจำนวนมาก และไม่ต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเนื่องจากกลัวไม่ปลอดภัย วิธีทำก็คือ เมื่อสั่งซื้อก็โอนเงินบัญชีผู้ขาย พร้อมส่งแพ็ค หรืออีเมลใบสั่งซื้อและใบเสร็จโอนเงินให้ผู้ขายแล้วผู้ขายก็จัดส่งสินค้ามาให้วิธีนี้ผู้ขายได้เปรียบ
* เงินสด ใช้บริการของบริษัทขนส่งสินค้าชั้นนำทั่วไป ให้ส่งสินค้าให้แล้วเก็บเงินปลายทางซึ่งผู้ซื้อยังไม่ต้องจ่ายเงินจนกว่าจะได้รับสินค้า วิธีนี้สะดวกกับผู้ซื้อ แต่ผู้ขายมีความเสี่ยง อาจถูกยกเลิกการซื้อ ทำให้ผู้ขายเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
* เซ็นเช็คจ่ายเงินผ่ายทางเว็บ คือ ใช้เช็คจ่ายเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยหลังซื้อสินค้าแล้วก็เลือกจ่ายเงินผ่านทางเช็ค ก็จะมีเช็คเปล่าให้เรากรอกรายละเอียดลงไป ถือว่าเสร็จเรียบร้อย วิธีนี้นิยมใช้เฉพาะอเมริกา
7. ต้องมีการปรับปรุงติดตามผลหลังจากการขายสินค้า หรือบริการ และเก็บเงินแล้ว มีหลายท่านคิดว่าเสร็จสิ้นการทำธุรกิจแบบ E- Commerce การคิดเช่นนั้นถือว่าเป็นความคิดที่ผิด อันที่จริงการทำธุรกิจ E - Commerce พึ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น ต้องมีการปรับปรุงร้านค้า หรือ Web Page ของเราอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีบริการหลังการขาย เช่น ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการขายสินค้านั้น หรือเปิดอีเมล์เพื่อให้ลูกค้าติ - ชม มีข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นช่องทางทำตลาดให้กับสินค้าตัวใหม่ และสร้างสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเก่า
ลักษณะเด่นของ E-Commerce
1. เป็นการค้าที่ไร้พรมแดน ไม่มีการแบ่งทวีปหรือประเทศ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง และการเดินทาง ท่านสามารถที่จะซื้อสินค้าจากร้านหนึ่ง และเดินทางไปซื้อสินค้าจากร้านอีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่คนละทวีปกันได้ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที
2. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขนาดใหญ่ทั่วโลก ฐานผู้ซื้อขยายกว้างขึ้น
3. คุณสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและเปิดได้ทุกวันโดยไม่วันหยุด
4. คุณไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานขายเพราะเจ้า E-Commerce จะทำการค้าแบบอัตโนมัติให้คุณ ไม่ต้องมีสินค้าคงคลังหรือมีก็น้อยมาก
5. คุณไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างตึกแถว เพื่อใช้เป็นร้านค้า เพียงแค่สร้าง Web Site ก็เปรียบเสมือนร้านค้าของคุณแล้ว ไม่ต้องเสี่ยงกับทำเลที่ตั้งของร้านค้า
6. E-Commerce สามารถเก็บเงิน และนำเงินฝากเข้าบัญชี ให้คุณโดยอัตโนมัติ
อุปสรรคของการทำ E-Commerce
1. ความเสี่ยงจากการที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับการค้าแบบ E-Commerce เพราะฉะนั้นเราควรเขียนคำบรรยายถึงขอบเขตในการรับผิดชอบของเราทีมีต่อลูกค้าให้ชัดเจน เช่น ซื้อสินค้าแล้วไม่รับคืนก็ต้องแจ้งลูกค้าให้เข้าใจ
2. ไม่มีการกำหนดมาตรฐานในด้านภาษีเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายมารองรับ
3. ปัญหาในการจัดส่งสินค้าที่ไม่สะดวกรวดเร็ว หรือสินค้าชำรุดเสียหาย ซึ่งได้แก่ พวกสินค้าที่เป็นของสด เช่น อาหาร หรือดอกไม้ สินค้าเหล่านี้ อาจเสียหาย หรือเสื่อมสภาพ เน่าเสีย จากระยะเวลา ในการขนส่งได้
4. ปัญหาจากการขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงเช่น อัญมณีต่างๆ บริษัทขนส่งมักจะไม่ยินดีที่จะรับส่งของเหล่านี้ เนื่องจากโอกาสสูญหายได้ง่าย
5. การทุจริตฉ้อโกง เช่น การปลอมบัตรเครดิต
6. ไม่แน่ใจผู้ขายเป็นผู้ประกอบการที่ปฎิษัติธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และน่าเชื่อถือเพียงใด
7. ทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
8. ผู้ขายยังไม่มั่นใจว่าตัวตนจริงของลูกค้าจะเป็นบุคคลคนเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ นั่นคือผู้ขายไม่มั่นใจว่า ผู้ซื้อมีความสามารถจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการหรือไม่
ที่มา : หนังสือก้าวสู่ความเป็นผู้ประกอบการโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


ประเภทของ E-Commerce

ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย







แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.thaiecommerce.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538636758&Ntype=6
http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/index.html
: e-Commerce FAQ คำถามนี้มีคำตอบ โดยศูนย์พัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ หน้า 19-20
: หนังสือ e-commerce คู่มือประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หน้า 36-38
http://www.thaiwbi.com/topic/E-Ecommerce
http://202.28.94.55/webclass/pub-lesson.cs?storyid=278


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น